ความเข้าใจว่าด้วย “สิทธิชุมชน” ของนักกฎหมายไทย

Main Article Content

บุญชู ณ ป้อมเพ็ชร

บทคัดย่อ

       ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้รับรองสิทธิชุมชนไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้รับรองสิทธิชุมชนต่อมา ดูเสมือนว่าสิทธิชุมชนได้ลงหลักปักฐานอย่างมั่นคงในทางกฎหมายเพราะสิทธินี้ได้ถูกรับรองในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ แต่อย่างไรก็ตามหลังจากการรับรองสิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน การพัฒนาความคิดเรื่องสิทธิชุมชนในทางกฎหมายมีความเปลี่ยนแปลงน้อยมากโดยเฉพาะในคำพิพากษาของศาล

       บทความนี้จึงพยายามอธิบายปรากฏการณ์ข้างต้น โดยได้นำเสนอผ่านแนวคิดทางกฎหมายสองชุด คือ แนวคิดของนักกฎหมายกระแสหลักของประเทศไทยที่อ้างอิงตัวบทกฎหมายเป็นหลัก และแนวคิดของนักกฎหมายที่ยอมรับแนวคิดสิทธิชุมชนโดยอาศัยฐานความคิดอื่นและผลักดันสิทธิชุมชนไปสู่รัฐธรรมนูญ ข้อถกเถียงโต้แย้งของสองแนวคิด และการเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางกฎหมายเรื่องสิทธิชุมชนของนักกฎหมายกระแสหลักโดยเฉพาะผู้พิพากษา รวมถึงอุปสรรคปัญหาของการยอมรับสิทธิชุมชนในทางกฎหมาย

คำสำคัญ : สิทธิชุมชน; กฎหมาย; นักกฎหมาย

  

       Since the recognition of Community Rights by the 2540 and the 2550 Constitutions, the Community Rights are firmly established in law because it is acknowledged by the supreme law of the country. However the mindset of Thai lawyers have not significantly evolved, especially in the judgement of the courts.

       This article aims to explain the above phenomenon through two sets of legal concepts which are mainstream lawyers concept which refer principally to the text and concept of lawyers who accept and support Community Rights. It also aims to explore the conflict between the two concepts, the change in mindset of mainstream lawyers regarding Community Rights especially the judges as well as the obstacles to the acceptance of Community Rights in law.   

Key words: Community; Rights; law; lawyers

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2537). กฎหมายกับทางเลือกของสังคมไทย. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

กองกรรมาธิการ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2536). รายงานคณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 สภาผู้แทนราษฎร (เล่ม 1). กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2540) . “สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ (ศึกษารูปแบบการจำกัดสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญให้ไว้อย่างเหมาะสม)”. วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 17 ฉบับที่ 3.

วิวัฒน์ คติธรรมนิตย์ (บรรณาธิการ). (2536). สิทธิชุมชน การกระจายอำนาจจัดการทรัพยากร. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา. (2540). คู่มือการศึกษากฎหมายปกครอง.กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2556). ฐานทรัพยากรในฐานะทุนชีวิตกับการจัดการแบบมีส่วนร่วมในฐานทรัพยากร...ทุนชีวิตของสังคมไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.