คดีมาตรา 112 ในโลกที่สื่อสารผ่านเทคโนโลยี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภายใต้รัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ การดำเนินคดีฐาน “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่เป็นประเด็นอ่อนไหวสำหรับสังคมไทยอยู่แล้วก็ยิ่งเพิ่มระดับการบังคับใช้และการสร้างบรรยากาศความกลัวมากขึ้น และเมื่อพิจารณาจากสถิติแล้วพบว่าคดีส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารบนโลกออนไลน์
คดีมาตรา 112 ที่มีโทษสูงสุดเท่าที่ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพเคยบันทึกข้อมูลไว้สามอันดับแรก เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในโลกออนไลน์ทั้งหมด และเป็นเรื่องของการโพสต์เฟซบุ๊ก โดยคดีที่มีโทษสูงที่สุด ศาลทหารพิพากษาลงโทษจำคุก 60 ปี เมื่อการกระทำความผิดเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ และเนื้อหาต่างๆ ยังปรากฏอยู่บนโลกออนไลน์ หลายคดีที่การกระทำเกิดขึ้นก่อนการรัฐประหารจึงถูกตีความว่าเป็นความผิดต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ทำให้คดีจำนวนหนึ่งถูกตีความให้พิจารณาคดีที่ศาลทหาร
ในยุคสมัยที่อินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนจำนวนไม่น้อย และการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีเช่นนี้ก็ไม่มีความเป็นส่วนตัว เมื่อพิจารณาจากแนวทางการดำเนินคดีที่ผ่านมา ก็อาจเห็นความเป็นไปได้ว่าจะมีผู้คนต้องสูญเสียอิสรภาพภายใต้กฎหมายนี้เพิ่มมากขึ้น
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
ฐานข้อมูล ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ freedom.ilaw.or.th
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร การมีการใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2557/ สืบค้นวันที่ 1 กันยายน 2558/ จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/ICT-HouseExc57.pdf