พระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ รัตนโกสินทรศก 116: ปฐมบทการปกครองท้องถิ่นไทย

ผู้แต่ง

  • ยอดชาย ชุติกาโม โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

การปกครองท้องที่, การปกครองท้องถิ่น, พระราชบัญญัติ

บทคัดย่อ

แม้ว่าพระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ รัตนโกสินทรศก 116 จะมิใช่กฎหมายที่แสดงถึงรูปแบบการปกครองท้องถิ่นอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน แต่กฎหมายฉบับนี้ได้แสดงถึงการวางรากฐานการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากสังคมไทยได้พัฒนาจากรัฐจารีตมาสู่การเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ ที่ต้องมีการปฏิรูปการปกครองและรวมอำนาจที่ส่วนกลาง โดยในระดับท้องที่ท้องถิ่นต่างที่ห่างไกลเมืองหลวงได้มีกลไกของระบบราชการคือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ทำหน้าที่ให้กับรัฐบาลในพื้นที่ โดยมีอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนด ต่างจากการปกครองท้องที่ในแบบเดิมของรัฐในระบบจารีตที่ห่างเหินจากส่วนกลางและไม่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง อีกทั้งกฎหมายฉบับนี้ ยังมีการเปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นเป็นครั้งแรกคือการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นการวางรูปแบบอำนาจการปกครองในพื้นที่ท้องถิ่นของไทยอย่างเป็นระบบครั้งแรก เป็นการเปิดโอกาสให้ราษฎรได้เรียนรู้การเลือกตั้งในระดับพื้นฐาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นฝึกหัดราษฎรให้รู้จักกับการเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ถือได้ว่าเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งการปกครองท้องถิ่นที่จะพัฒนาขึ้นสืบเนื่องมาตามบริบทของสังคมไทย

References

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. การปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2561, จากวิกิพีเดียฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2548). ประวัติศาสตร์ ชาติ ปัญญาชน. กรุงเทพฯ: มติชน.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2470). พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้พิมพ์แจกพระราชทาน ในงานบำเพ็ญพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2470)

พระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ รัตนโกสินทรศก 116. ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นจากhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/009/105_1.PDF

สมเด็จพระเข้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2545). เทศาภิบาล. กรุงเทพฯ: มติชน.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2546). สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ การสร้างอัตลักษณ์ “เมืองไทย” และ “ชั้น” ของชาวสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน.

สิวาพร สุขเอียด. การปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2561, จากวิกิพีเดียฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การปกครองส่วนท้องถิ่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2018