คำแนะนำการตีพิมพ์บทความ

คำแนะนำในการเตรียมบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า Click

  1. วัตถุประสงค์การจัดพิมพ์

            วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลที่สนใจ และเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางการวิจัยสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยมุ่งเน้นบทความเกี่ยวกับการศึกษา การพัฒนาประเทศ การทหารและความมั่นคง

  1. ขอบเขตการตีพิมพ์

              2.1 ขอบเขตเนื้อหา ได้แก่ บทความเกี่ยวกับการศึกษา การพัฒนาประเทศ การทหารและความมั่นคงในสาขาสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ อักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสังคมศาสตร์ทั่วไป

              2.2 ประเภทของบทความที่เปิดรับ ได้แก่ บทความวิจัยและบทความวิชาการ

              2.3 ภาษาของบทความ ได้แก่ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

  2. กำหนดออก    กำหนดตีพิมพ์ปีละ 1 ฉบับ (มกราคม-ธันวาคม)
  1. ข้อกำหนดทั่วไปของบทความ

            4.1 บทความที่นำเสนอจะต้องมีสาระที่น่าสนใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือนำเสนอองค์ความรู้เดิมในมุมมองใหม่ ไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นใด ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น หากนำผลงานมาใช้ให้อ้างอิงทุกครั้ง

            4.2 บทความต้องใช้รูปแบบตามแบบฟอร์ม (Template) ที่วารสารกำหนด รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำการตีพิมพ์นี้อย่างเคร่งครัด

            4.3 บทความที่นำเสนอในแต่ละประเภทมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

                  บทความวิจัย (Research article) เป็นบทความที่นำเสนอผลการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และได้บรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัย ประกอบด้วย ชื่อเรื่องและรายละเอียดผู้เขียน และเนื้อหางานวิจัย ซึ่งประกอบไปด้วย บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์การวิจัย สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) ขอบเขตการวิจัย ทบทวนวรรณกรรม กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี) วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง ทั้งนี้ผู้เขียนบทความจะต้องกำหนดคำสำคัญ (Keyword) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละ 3-5 คำ ไว้ท้ายบทคัดย่อแต่ละภาษา 

                  บทความทางวิชาการ (Academic article) เป็นงานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกําหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการโดยมีการสํารวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจนด้วย  บทความทางวิชาการ ประกอบไปด้วย ชื่อเรื่องและรายละเอียดผู้เขียน บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ วัตถุประสงค์ เนื้อหา บทสรุป และเอกสารอ้างอิง ทั้งนี้ผู้เขียนบทความจะต้องกำหนดคำสำคัญ (Keyword) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละ 3-5 คำ ไว้ท้ายบทคัดย่อแต่ละภาษา

  1. การส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์

สามารถส่งบทความเป็นไฟล์ word (นามสกุล .doc หรือ .docx) พร้อมกับแนบไฟล์ pdf เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฯ ได้ที่ ส่งบทความ หรือ submission

  1. การส่งบทความ (แบบฟอร์มสำหรับบทความวิจัย) (แบบฟอร์มสำหรับบทความวิชาการ)

            6.1 ต้นฉบับจำนวนหน้าของบทความมีความยาว 12-15 หน้ากระดาษ A4 (รวมรายการอ้างอิง) หากเป็นบทความภาษาอังกฤษไม่เกิน 7,000 คำ จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2003 ขึ้นไป โดยแผนภาพ แผนภูมิ ตารางที่ใช้ในบทความ ให้ทำเป็นไฟล์ภาพ (นามสกุล .jpg หรือ .png) โดยท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่นี่ (แบบฟอร์มสำหรับบทความวิจัย click) (แบบฟอร์มสำหรับบทความวิชาการ click)

            6.2 ขนาดกระดาษ ใช้ขนาด A4 พิมพ์แนวตั้ง (Portrait) จัดชิดขอบซ้าย-ขวา แบบกระจายแบบไทย ใส่หมายเลขหน้าทุกหน้าที่มุมด้านบนขวาของกระดาษ โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ (Margins) ดังนี้

     ด้านบน (Top) และด้านซ้าย (Left)                   1 นิ้ว (2.54 ซม.)

     ด้านล่าง (Bottom) และด้านขวา (Right)         1 นิ้ว (2.54 ซม.)

     หัวกระดาษและท้ายกระดาษ                             0.5 นิ้ว (1.25 ซม.)

     ระยะห่างระหว่างบรรทัด                                    1.0

     จัดหน้าเป็นแบบ                                                1 คอลัมน์ ย่อหน้า 0.5 นิ้ว

            6.3 รูปแบบตัวอักษรที่กำหนด คือ TH SarabunPSK ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ยกเว้น ตัวอักษรที่เป็นสัญลักษณ์ให้ใช้รูปแบบอักษรเป็น Symbol ขนาด point (pt) ให้มีความสูงเท่ากับตัวอักษรอื่นในบรรทัดนั้น ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขอารบิก โดยขนาดตัวอักษรกำหนดดังนี้

ส่วนประกอบ

ขนาดอักษร (พ.)

การจัดตำแหน่ง

ลักษณะอักษร (หัวข้อ)

หมายเหตุ

ชื่อบทความ/Title

ชื่อผู้เขียน/Name (ทุกคน)

บทคัดย่อ/Abstract

คำสำคัญ/Keywords

หัวข้อหลัก (ไม่ระบุตัวเลข)

หัวข้อรอง (ระบุตัวเลข)

เนื้อความทั่วไป

ตารางที่

ภาพที่

เอกสารอ้างอิง

18

16

16

16

16

16

16

14

14

14

ตรงกลาง

ตรงกลาง

ตรงกลาง

ชิดซ้าย

ชิดซ้าย

ชิดซ้าย

ชิดขอบ

ชิดซ้าย

ชิดซ้าย

ชิดซ้าย

หนา

หนา

หนา

หนา

หนา

หนา

ปกติ

หนา

หนา

หนา

-บทความจากวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของการศึกษา ให้ระบุข้อความไว้ที่เชิงอรรถ (หน้าแรก) เช่น "บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง..." หรือ "บทความนี้ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์เรื่อง..." พร้อมระบุปริญญา สาขาวิชา สถาบัน และปี (12 pt)

-ให้ระบุตำแหน่ง สังกัด จังหวัด รหัสไปรษณีย์ และอีเมลของผู้เขียนทุกคนไว้ที่เชิงอรรถ (หน้าแรก) ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (12 pt)

- บทคัดย่อผู้เขียนต้องตรวจสอบไวยากรณ์เอง โดยมีคำสำคัญ 3-5 คำ

- ตาราง (ระบุไว้ด้านบนตาราง)

- ภาพ (ระบุไว้บนรูปภาพ/แผนภาพ) พร้อมระบุแหล่งที่มาด้านล่างให้ชัดเจน

 

6.4 เนื้อหาของบทความ ใช้คำศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน ประกอบด้วย

บทความวิจัย

บทความวิชาการ

ชื่อเรื่อง พิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ

ชื่อเรื่อง พิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ

ชื่อผู้นิพนธ์ ต้องระบุชื่อ และนามสกุลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษของผู้แต่งทุกคน โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้า หรือตำแหน่งหน้าชื่อ และระบุผู้ที่เป็นผู้นิพนธ์หลักโดยใส่เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) ไว้ท้ายนามสกุล

ชื่อผู้นิพนธ์ ต้องระบุชื่อ และนามสกุลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษของผู้แต่งทุกคน โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้า หรือตำแหน่งหน้าชื่อ และระบุผู้ที่เป็นผู้นิพนธ์หลักโดยใส่เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) ไว้ท้ายนามสกุล

สังกัด (ทำเป็นเชิงอรรถ) ให้ระบุสังกัดและสถานที่ติดต่อโดยละเอียดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

Educational Administration, Department of Educational Policy Management and Leadership, Faculty of Education, Chulalongkorn University, Wang Mai, Pathumwan, Bangkok, 10330 Thailand

สังกัด (ทำเป็นเชิงอรรถ) ให้ระบุสังกัดและสถานที่ติดต่อโดยละเอียดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

Educational Administration, Department of Educational Policy Management and Leadership, Faculty of Education, Chulalongkorn University, Wang Mai, Pathumwan, Bangkok, 10330 Thailand

อีเมลผู้ประสานงานหลัก (ทำเป็นเชิงอรรถ) ให้ระบุต่อท้ายสังกัดเฉพาะของผู้ประสานงานหลักเท่านั้น ดังนี้ Corresponding author, E-mail: journal_huso@crma.ac.th

อีเมลผู้ประสานงานหลัก (ทำเป็นเชิงอรรถ) ให้ระบุต่อท้ายสังกัดเฉพาะของผู้ประสานงานหลักเท่านั้น ดังนี้ Corresponding author, E-mail: journal_huso@crma.ac.th

บทคัดย่อ (Abstract) จะต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวนคำไม่เกิน 300 คำ ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องทางไวยากรณ์และการใช้ภาษาของบทคัดย่อเอง และต้องมีคำสำคัญ จำนวน 3-5 คำ

บทคัดย่อ (Abstract) จะต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวนคำไม่เกิน 300 คำ ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องทางไวยากรณ์และการใช้ภาษาของบทคัดย่อเอง และต้องมีคำสำคัญ จำนวน 3-5 คำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา นำเสนอที่มา ปัญหา แนวคิดหรือความจำเป็นในการทำวิจัย กล่าวถึงสถานะของปัญหาวิจัยหรือประเด็นสำคัญที่ต้องการนำเสนอ เป็นการเชื้อเชิญให้ผู้อ่านอยากที่จะอ่าน

บทนำ เกริ่นถึงประเด็นสำคัญที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจน เป็นการเชื้อเชิญให้ผู้อ่านอยากที่จะอ่าน

วัตถุประสงค์การวิจัย มีความชัดเจน วัดได้สอดคล้องกับเรื่องที่ศึกษา

วัตถุประสงค์ มีความชัดเจน วัดได้สอดคล้องกับเรื่องที่ศึกษา

การทบทวนวรรณกรรม เป็นการกล่าวโดยสรุปถึงแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย แสดงให้เห็นภาพรวมหรือโครงร่างของเอกสารที่ศึกษา และนำไปสู่กรอบแนวคิดในการวิจัย

เนื้อเรื่อง มีการเรียบเรียงเนื้อหาได้เข้าใจ มีการวิเคราะห์ประเด็นที่นำเสนอตามหลักวิชาการอย่างถูกต้อง โดยมีการสำรวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ และผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจนด้วย

วิธีดำเนินการวิจัย ให้อธิบายระเบียบวิธีวิจัย การออกแบบการวิจัย ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย เครื่องมือในการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์และเพื่อให้งานวิจัยน่าเชื่อถือ

บทสรุป มีการสรุปที่กระชับและสอดคล้องกับเนื้อหาและประเด็นที่ต้องการนำเสนอทั้งหมด และตรงตามวัตถุประสงค์

ผลการวิจัย สรุปและแสดงผลการวิจัย ควรลำดับให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการวิจัยและตอบวัตถุประสงค์การวิจัย

ข้อเสนอแนะ เป็นข้อเสนอแนะในการนำองค์ความรู้ที่ได้จากบทความไปใช้หรือปฏิบัติ

สรุปและอภิปรายผลการวิจัย สรุปผลการวิจัยและเสนอประเด็นสำคัญที่ค้นพบในงานวิจัย การอภิปรายมักมีการเปรียบเทียบ และอาจมีข้อจำกัดของการวิจัย

กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) ให้กล่าวถึงหน่วยงานที่ให้ทุนในการสนับสนุนเท่านั้น

ข้อเสนอแนะ เป็นข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้หรือไปปฏิบัติ

เอกสารอ้างอิง ให้ใช้การอ้างอิงในเนื้อหาระบบนาม-ปี และมีการเขียนรายการอ้างอิงท้ายบทความ โดยใช้รูปแบบ APA 7th edition

 

กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) ให้กล่าวถึงหน่วยงานที่ให้ทุนในการสนับสนุนเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง ให้ใช้การอ้างอิงในเนื้อหาระบบนาม-ปี และมีการเขียนรายการอ้างอิงท้ายบทความ โดยใช้รูปแบบ APA 7th edition

หมายเหตุ: สำหรับภาษาอังกฤษที่ใช้ในเนื้อความให้ขึ้นต้นคำด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ยกเว้น article และ preposition

6.5 การเขียนเอกสารอ้างอิง

     ใช้การอ้างอิงในเนื้อหาระบบนาม-ปี และมีการเขียนรายการอ้างอิงท้ายบทความ โดยใช้รูปแบบ American Psychological Association (APA 7th edition) โดยรายการอ้างอิงที่นำมาใช้ต้องมีอายุไม่เกิน 10 ปี (ยกเว้น การอ้างอิงทฤษฎี กฎหรือสูตร) โดยจำนวนรายการอ้างอิงต้องไม่เกิน 20 เรื่อง เท่านั้น

การพิมพ์อ้างอิงที่แทรกในเนื้อหาของบทความ (In-text Citation) ให้ใช้การอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุชื่อผู้แต่งและปีพิมพ์ และ/หรือเลขหน้าของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างท้ายข้อความที่ต้องการอ้าง ตัวอย่างเช่น

     อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์ (2563, น. 81) หรือ (อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์, 2563, น. 81)

     Yamane (1973, pp. 885-886) หรือ (Yamane, 1973, pp. 885-886)

     ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2563, น. 126-141) หรือ (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2563, น. 126-141)

     Kate and Domon (2020, p. 123) หรือ (Kate & Domon, 2020, p. 123)

     สำหรับผู้แต่ง 3 คนขึ้นไปให้ใช้ชื่อ-สกุลของผู้แต่งคนแรก แล้วตามด้วย "และคณะ" ตัวอย่างเช่น

     อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์ และคณะ (2561) หรือ (อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์ และคณะ, 2561)

     Sutthipongpan et al. (2022) หรือ (Sutthipongpan et al., 2022)

สำหรับการอ้างอิงการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ เช่น จดหมายส่วนตัว อีเมลล์ สัมภาษณ์ บทสนทนาทางโทรศัพท์กลุ่มสนทนา กระดานสนทนา เนื่องจากเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ไม่มีข้อมูลให้สืบค้นได้ทั่วไป จึงไม่รวมอยู่ในรายการเอกสารอ้างอิง ให้อ้างไว้ในส่วนการอ้างอิงในเนื้อหาเท่านั้น ดังตัวอย่าง

     อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์ (การสื่อสารส่วนบุคคล, 25 ธันวาคม 2563)

     (อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์, การสื่อสารส่วนบุคคล, 25 ธันวาคม 2563)

     T. K. Lutes (personal communication, April 13, 2020)

     (T. K. Lutes, personal communication, April 13, 2020)

การพิมพ์เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ (References) ให้ใช้หัวข้อ “เอกสารอ้างอิง” หรือ “References” เรียงลำดับตามอักษรชื่อผู้เขียน โดยทุกลำดับจะต้องมีการอ้างอิงหรือกล่าวถึงในบทความ และผู้เขียนต้องรับผิดชอบความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิง โดยให้จัดพิมพ์ตามรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมแบบ American Psychological Association (APA 7th edition)

ถ้ารายละเอียดของเอกสารอ้างอิงมีความยาวมากกว่าหนึ่งบรรทัดให้พิมพ์ต่อบรรทัดถัดไปโดยย่อหน้า (โดยเว้นระยะ 7 ช่วงตัวอักษรหรือเริ่มพิมพ์ช่วงตัวอักษรที่ 8)

การจัดพิมพ์เอกสารอ้างอิงท้ายบทความจะแตกต่างกันตามชนิดของเอกสารที่นำมาอ้างอิง โดยให้จัดพิมพ์ตามรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 7th edition ดังนี้

หนังสือ

ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป)./สำนักพิมพ์.

อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์. (2565). หลักเศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). อรุณการพิมพ์.

Kother, P., & Gary, A. (2003). Principles of Marketing (9th ed.). McGraw-Hill.

หมายเหตุ: ผู้แต่ง 3-20 คน ให้ใส่ชื่อทุกคน

วารสาร

ชื่อ/สกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์. (2563). การพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการพัฒนาเพื่อความมั่นคง โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 11(1), 75-89.

Doran, K. (1996). Unified Disparity: Theory and Practice of Union Listing. Computer in Libraries, 16(1), 39-42.

ราชกิจจานุเบกษา

ชื่อกฎหมาย./(ปี,/วัน/เดือน)./ราชกิจจานุเบกษา./เล่ม/ตอนที่./หน้า/เลขหน้า.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 57ก. หน้า 49-53.

ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์

ชื่อ/สกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. ชื่อมหาวิทยาลัย.

อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าตามแนวคิดคุณลักษณะความเป็นผู้นำทางทหารและความมั่นคงของชาติในศตวรรษที่ 21 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Nickels, D. W. (2005). The relationship between IT-business alignment and organizational culture: An exploratory study [Doctoral dissertation]. University of Memphis.

อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าตามแนวคิดคุณลักษณะ
ความเป็นผู้นำทางทหารและความมั่นคงของชาติในศตวรรษที่ 21
[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58290

เอกสารรายงานการประชุมเชิงวิชาการ/หนังสือรวมบทความวิชาการ

ชื่อ/สกุล./(ปี)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บ.ก.),/ชื่อหัวข้อการประชุม./ชื่อการประชุม/(น./เลขหน้า)./ฐานข้อมูล.

ศุภฤกษ์ มณีลาภ พุธิตา สีสังข์ มนธยา จูบุญส่ง วนัสนันท์ มีเวชสม ภูนิสตา ปานเจริญ ภัทรียา จินดากุล และธราภรณ์ สาระสุข. (2561). พฤติกรรมการออมของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. ใน สิริชัย กาญจนวสี (บ.ก.), การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติ (น. 99-112). คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Dakaheng, R., Kongnakon, W., & Laodee, P. (2012). The Usage of Protozoa for Water Quality Monitoring in Lumpaya Sub district, Muang District, Yala Province. In W. Philips, & P. Scheunders (Eds.), Lecture notes in computer science: Vol. 456. Advanced concepts for intelligent vision systems (pp. 99-112). Scopus. https://doi.org/10.1007/978-3-540-74607-2_9

หนังสือพิมพ์และหนังสือพิมพ์ออนไลน์

ชื่อ/สกุล./(ปี,/วัน/เดือน)./ชื่อคอลัมน์./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า.

พงษ์พรรณ บุญเลิศ. (2561, 15 สิงหาคม). เดลินิวส์วาไรตี้: “สื่อพิพิธภัณฑ์” เชื่อมยุคสมัย เข้าถึงด้วย “มิติใหม่” อินเทรนด์. เดลินิวส์, 4.

Brody, J. E. (2007, December 11). Mental reserves keep brain agile. The New York Times. http://www.nytimes.com

ข้อมูลจากเว็บไซต์

ชื่อ/สกุลผู้เขียน./(ปี,/วัน/เดือนที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./ชื่อเว็บไซต์./URL.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2563, 30 เมษายน). 5 คำถามและ 4 โจทย์ว่าด้วยการสนทนาเรื่อง “ความปกติใหม่” ใน “โลกหลังโควิด.” TDRI. https://tdri.or.th/2020/04/new-normal-in-post-covid-world/

Zafarani, R., Abbasi, M.A., & Liu, H. (2014, 30 May). Social media mining: An introduction. DMML. http://dmml.asu.edu/smm/

บทความจากวารสารออนไลน์

ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/หน้า(ถ้ามี)./ชื่อเว็บไซต์ URL

อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์. (2563). การรับรู้ ทัศนคติ และแนวทางการปฏิบัติของนักเรียนนายร้อยต่อแนวคิดประเทศไทย 4.0. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 10(1), 37-51. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ndsijournal/article/view/188060/backreport.htm

Hallinger, P., Piyaman, P., & Viseshsiri, P. (2017). Assessing the effects of Learning-Centered Leadership on Teacher Professional Learning in Thailand. Teaching and Teacher Education, 67, 464-476. https://doi.org/10.1016/j.tate.2017.07.008

ข้อมูลจาก Social Media

ผู้แต่ง./(ปี, วันที่ เดือน)./เรื่องที่โพสต์./[ประเภทของโพสต์]. Social media. ชื่อเว็บไซต์ URL

ยศวีร์ สายฟ้า. (2563, 25 เมษายน). Life Education Thailand: FamSkool Live Vol.2 Home Based Learning (HBL). [วิดีโอ]. Facebook. https://bit.ly/2Xi9Yl4

The Standard. (2020, May 29). หลังโควิด-19 สมดุลแห่งอำนาจของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร [Video file]. Youtube. https://www.youtube.com/watch?reload=9&v=Qs9fM6N9xqM&feature=youtu.be

หมายเหตุ:

เรื่องที่โพสต์ 20 คำแรกของโพสต์ ห้ามเปลี่ยนแปลงตัวอักษร สัญลักษณ์ (ตัวใหญ่, hashtags, link, emoji)

Social media เช่น Facebook, Instagram, Twitter  ประเภทของโพสต์ เช่น Status update, วิดีโอ, รูปภาพ