การศึกษาปัจจัยที่ส่งผล และแนวทางการส่งเสริมการปรับตัวของ นักเรียนนายร้อยใหม่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ผู้แต่ง

  • รุ่งอรุณ วัฒยากร, ดร. ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

คำสำคัญ:

การปรับตัว, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัว, แนวทางการส่งเสริมการปรับตัว, นักเรียนนายร้อยใหม่, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัว  และหาแนวทางการส่งเสริมการปรับตัวของนักเรียนนายร้อยใหม่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย นักเรียนนายร้อย ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 241 คน นักเรียนนายร้อย ชั้นปีที่ 5 ที่เป็นนักเรียนบังคับบัญชา จำนวน 21 คน และผู้บริหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 272 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสำรวจข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินระบบนักเรียนนายร้อยใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสัมมนา
เชิงปฏิบัติการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป นำเสนอผลการวิเคราะห์โดยวิธีพรรณนา ตาราง และภาพ

ผลการศึกษา พบว่า

          ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักเรียนนายร้อยใหม่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จำแนกได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านห้วงเวลาและลักษณะการปรับตัวของนักเรียนนายร้อยใหม่ และ 2) ปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ได้แก่ ปัจจัยด้านโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านนักเรียนนายร้อยใหม่ และปัจจัยด้านครอบครัวของนักเรียนนายร้อยใหม่

          แนวทางการส่งเสริมการปรับตัวของนักเรียนนายร้อยใหม่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีดังนี้  1) มุ่งเน้นการคัดเลือกนักเรียนนายร้อยที่มีความรัก ศรัทธา และมีอุดมการณ์ในการเป็นทหาร 2) การมีนักเรียนบังคับบัญชาที่ถูกหล่อหลอมมาแล้วเป็นอย่างดี 3) ไม่มีระบบการลงโทษที่นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ที่กำหนด 4) มุ่งเสริมสร้างให้ นักเรียนนายร้อยทุกนายเป็นผู้มีคุณธรรมหลัก 4 ประการ ได้แก่ มีความกตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดินและองค์การเป็นหลัก มีความยุติธรรม มีความแข็งแกร่งทั้งทางร่างกายและจิตใจ ยึดถือระบบเกียรติศักดิ์ และ 5) การมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่าย ที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และการไม่เพิกเฉยต่อการกระทำความผิดของนักเรียนนายร้อย รวมทั้งการไม่เพิกเฉยต่อการชื่นชมในการทำความดีของนักเรียนนายร้อยด้วยเช่นกัน

References

กรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. (2560). คู่มือนักเรียนนายร้อย. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
นิรมล สุวรรณโคตร. (2553). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปัญญา ตุรงค์เรือง, พลตรี. (2560, 13 กันยายน). เสนาธิการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. [บทสัมภาษณ์]
รุ่งอรุณ วัฒยากร, พันโทหญิง. (2556). การศึกษาภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนนายร้อย ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. กรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.
วัชระ สัตยวงศ์ทิพย์, พลตรี. (2560, 1 กันยายน). ผู้อำนวยการส่วนวิชาทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. [บทสัมภาษณ์.]
วินัฐ อินทรสุวรรณ, พลตรี. (2560, 1 กันยายน). ผู้อำนวยการส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. [บทสัมภาษณ์.]
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศักดิ์ระวี พึ่งเย็น, พันเอก. (2560, 10 สิงหาคม). เสนาธิการ กรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. [บทสัมภาษณ์.]
สราวุฒิ จันทรวัฒน์, พันเอก. (2560, 23 สิงหาคม). ผู้อำนวยการกองจิตวิทยาและการนำทหาร กรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. [บทสัมภาษณ์.]
สันต์ชัย เกิดสวัสดิ์, พลตรี. (2560, 20 กันยายน). รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. [บทสัมภาษณ์.]
สิทธิพล ชินสำราญ, พลโท. (2560, 14 กันยายน). ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. [บทสัมภาษณ์.]
สุกัญญา ตันตระบัณฑิตย์. (2548). การศึกษาการปรับตัวของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุขุม สุขศรี, พลตรี. (2560, 13 กันยายน). รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. [บทสัมภาษณ์.]
สุรชัย รัศมีจิวานนท์, พันเอก. (2560, 29 สิงหาคม). ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. [บทสัมภาษณ์.]
สุริยเดว ทรีปาตี. (2554). ต้นทุนชีวิต..จุดเปลี่ยนสังคมไทย. กรุงเทพฯ: เจี้ยฮั๊ว.
อดิศร พงษ์ศรี. (2546). การใช้ชีวิตภายในมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญาตรี คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อำนวย แย้มผกา, พันเอก. (2560, 11 กันยายน). ผู้บังคับการกรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. [บทสัมภาษณ์.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2018