การลดจำนวนตัวแปรสำหรับปัจจัยการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างยั่งยืน กรณีศึกษา นักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติของประเทศไทย
คำสำคัญ:
ปัจจัยการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างยั่งยืน, การลดจำนวนตัวแปรบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการลดจำนวนตัวแปรสำหรับปัจจัยการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาไปสู่ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างยั่งยืน ของประเทศไทย โดยมีการศึกษาปัจจัยการท่องเที่ยวของงานวิจัยที่ผ่านมาและสุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแต่ละตัวแปร โดยใช้ Confirmatory Factor Analysis
ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรหลักการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนซึ่งประกอบด้วยตัวแปรองค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยแนวทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 10 ตัวแปร และ ตัวแปรองค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยหลักการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ จำนวน 10 ตัวแปร สามารถลดจำนวนตัวแปรคงเหลือทั้งสิ้น 9 ตัวแปร คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทางวัฒนธรรมของพื้นที่ท่องเที่ยว การที่นักท่องเที่ยวมีโอกาสพัฒนาศักยภาพในการสร้างสรรค์ของตนเองและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การเข้าใจอย่างถ่องแท้ในกระบวนการผลิตและผลิคภัณฑ์ท้องถิ่นมีประสบการณ์จริง การจดจำ/ประทับใจ/เข้าใจ การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี การลดการใช้ที่เกินจำเป็นและการลดของเสีย การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น การประสานความร่วมมือระหว่างส่วนงานที่เกี่ยวข้อง การลดตัวแปรสามารถลดจำนวนปริมาณข้อมูลนำเข้า วิเคราะห์ข้อมูลได้ตรงประเด็น นำไปสู่การใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศไทย นอกจากนี้งานวิจัยครั้งนี้มีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผลการวิจัยสอดคล้องกับการวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ การให้ข้อมูลนักท่องเที่ยวทราบถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
นาฬิกอติภัค แสงสนิท. (2556).การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). สืบค้นจาก http://www.dasta.or.th/
ฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง. (2556). สถิตินักท่องเที่ยวที่เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ. สืบค้นจาก http://npdatabase@dnp.go.th
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ. (2555). ความยั่งยืนที่ต้องรายงาน. สืบค้นจาก http://pipatory.blogspot.com/2012/04/blog-post.html
วิมล จิโรจพันธุ์ ประชิด สกุณะพัฒน์ และอุดม เชยกีวงศ์. (2548). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
อดิศร อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2550.) การสัมมนาประจำปี 2550 “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา”. คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สืบค้นจากhttp://cse.nida.ac.th/main/images/books/yellowbook.pdf
อุษาวดี พลพิพัฒน์. (2545). การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน: กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนในประเทศไทย. จุลสารการท่องเที่ยว, 21,4 (ตุลาคม- ธันวาคม): 38-48.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี
บทความและข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อนเท่านั้น และบทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องไม่ปรากฎในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนที่จะปรากฎในวารสารนี้ กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ