คุณลักษณะภาวะผู้นำทางทหารของผู้บังคับกองพันและการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการของหน่วยระดับกองพันในกองทัพภาคที่ 3
คำสำคัญ:
คุณลักษณะผู้นำทางทหาร, การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล, ประสิทธิผลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะผู้นำทางทหารของผู้บังคับบัญชาระดับกองพัน การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และประสิทธิผลการบริหารจัดการของหน่วยระดับกองพันในกองทัพภาคที่ 3 2) วิเคราะห์ปัจจัยสำคัญด้านคุณลักษณะผู้นำทางทหารของผู้บังคับบัญชาระดับกองพัน และการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการของหน่วยระดับกองพันในกองทัพภาคที่ 3 และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการของหน่วยระดับกองพันในกองทัพภาคที่ 3 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาจากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรและนายทหารชั้นประทวน สังกัดกองทัพภาคที่ 3 จำนวน 723 คน จากจำนวนทั้งหมด 19,007 คน โดยการเลือกสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ One-sample t-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบสเต็ปไวซ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะผู้นำทางทหารของผู้บังคับบัญชาระดับกองพัน การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และประสิทธิผลการบริหารจัดการของหน่วยระดับกองพันในกองทัพภาคที่ 3 ภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับสูง (P < .05) 2) มีตัวแปรสำคัญของปัจจัยคุณลักษณะผู้นำทางทหาร จำนวน 12 ตัวแปร และตัวแปรสำคัญของปัจจัยการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล จำนวน 16 ตัวแปร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการของหน่วยระดับกองพันในกองทัพภาคที่ 3 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 78.10 และร้อยละ 87.20 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการของหน่วยระดับกองพันในกองทัพภาคที่ 3 โดยกระบวนการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย 1) พัฒนาความเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ 2) พัฒนาการบริหารราชการ 3) พัฒนาสมรรถนะ 4) พัฒนาคุณลักษณะการเป็นแบบอย่างที่ดี 5) พัฒนาภารกิจการพัฒนาและแก้ปัญหาสาธารณะ 6) พัฒนาการมีส่วนร่วม 7) พัฒนาการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 8) พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน และ 9) พัฒนากำลังพล
References
ธนกฤต โพธิ์เงิน. (2557). ปัจจัยด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขต
จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(2), 152-161.
พิมพรรณ ภักดีอุธรณ์. (2556). ธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจ นครบาลคันนายาว.
(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก. กรุงเทพ.
นักศึกษาหลักสูตรหลักประจำ วิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 62. (2561). ยุทธศาสตร์กองทัพบก 2561 กองทัพบกประชารัฐ. (ม.ป.ท.)
สุรีย์ สิริสมุทรสาร. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในกรมทางหลวง.
(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556-2561). กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้น แอนด์ มีเดีย.
Brown, W. A. (2000). Organization effectiveness in nonprofit human service organization: The influence of the board of
directors. Dissertation Abstracts international-B (Online). 60(12): 6403Available: Proquest UMI; Dissertation Abstracts.
Boonleaing, S., et al. (2011). The Leadership characteristics and efficiency of local administrative organizations: A case
study of local administrative organizations in the lower north region of Thailand. International Business & Economics
Research Journal, 9(12), 119-122.
Caplow, T. (1964). Principles of Organization. New York: Harcourt, Brace and World. Katz, D., and Kahn, R.L. (1978).
The Social Psychology of Organization. (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons.
Charles K. (1998). Instrumental Utilities and Information Seeking in New Model for. Mass Communication Research.
Beverly Hil: Kristina.
Daft, R.L. (1999). Leadership: Theory and practice. Forth Worth, TX: Dryen Press.
Fiedler, F.E. (1967). A Theory of Leadership Effectiveness.
New York: McGraw Hill.
Diener, E. (1996). Measuring Subjective Well Being: Progress and
opportunities. Social Indicators Research, 28, 35-89.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Educational and
Psychological Measurement, 607-610.
Kaplan, Robert S, and Norton, David P. (2001). The Strategy- Focused Organization. Boston: Harvard Business.
Robinson, S. G. (2000). Teacher Job Satisfaction and Levels of Clinical Supervision in Elementary Schools. Dissertation
Abstracts International. 61-06 (A).
Rodsutti, M. C. and F. W. Swierczek. (2002). Leadership and Organizational Effectiveness in Multinational Enterprises in
Southeast Asia. Leadership & Organization Development Journal, 23(5/6), 250-259.
Shook, J. D. (2000). FL/L2 reading, grammatical information, and the input to intake phenomenon. Applied Language
Learning, 5, 57-93.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี
บทความและข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อนเท่านั้น และบทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องไม่ปรากฎในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนที่จะปรากฎในวารสารนี้ กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ