สุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • สายใจ ศรีนวลนัด คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

สุขภาพองค์การ, การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสุขภาพองค์การของโรงเรียน 2) ระดับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน และ 3) สุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ประชากรที่ใช้ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี จำนวน 18 โรงเรียน โดยผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ข้าราชการครู จำนวน 340 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้หลักความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ กำหนดชั้นภูมิเป็นขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท 5ระดับที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.974 วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ค่า Tolerance ค่า VIF และสถิติวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            ผลการวิจัย 1) สุขภาพองค์การของโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ลำดับแรก ด้านการมุ่งเน้นวิชาการ รองลงมา ด้านความเข้มแข็ง และด้านอิทธิพลของผู้บริหาร ตามลำดับ 2) การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ลำดับแรก ด้านการจัดการเรียนรู้ รองลงมา ด้านการวิจัย และด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ และ 3) สุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ได้แก่ ด้านการมุ่งเน้นวิชาการ (X6) ด้านความเป็นผู้นำของผู้บริหาร (X2) ด้านการสนับสนุนทรัพยากร (X4) ด้านความเข้มแข็ง (X1) และด้านอิทธิพลของผู้บริหาร (X3) โดยตัวแบบสุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ด้วยคะแนนดิบ ŷ = 0.528 + 0.321 X6 + 0.107 X2 + 0.162 X4 + 0.174 X1 + 0.099 X3 คะแนนมาตรฐาน zŷ = 0.373zX6 + 0.138zX2 + 0.192zX4 + 0.173zX1 + 0.114zX3 และสามารถพยากรณ์การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนร้อยละ 66.9 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.821 การวิจัยครั้งนี้ก่อให้เกิดองค์ความรู้สำหรับผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมปัจจัยการมุ่งเน้นวิชาการมาใช้ในการวางแผนพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ส่งเสริมให้ข้าราชการครูมีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและองค์การให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีกระจาย
อำนาจการบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กันต์ฤทัย นามมาลา. (2558). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กัมพล ขันทะวงษ์. (2555). แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สหวิทยาเขตปราสาทพญาไผ่
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดวงกมล กลิ่นดี. (2558). สุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาของ
โรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ธันวา วาทิตต์พันธ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรี.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.
นวมินท์ อยู่เย็น. (2555). สุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ.
นันทิยา เอี่ยนวิไล. (2559). การควบคุมปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหา
วิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
มนัส สายแก้ว. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การกับคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
ขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี.
วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 5(1), 97.
วิไล ปรึกษากร. (2558). นวัตกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
สจีวรรณ ทรรพวสุ และไสว ศิริทองถาวร. (2555). การพัฒนากระบวนการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐานด้วยการจัดการคุณภาพ. รายงานการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ
ตามปรัชญาการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553).
คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
สินีนาฏ พรมมิ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การกับการบริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้
บริหาร และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
อภิชา พุ่มพวง. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัด
สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญา).
มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
Best, J.W. (1981). Research in education. (4th). New Jersey: Prentice Hall.
Hoy, W. K., & Feldman, J. A. (1987). Orgnization health. The concept and
in measure. Journal of Research and Development in Education, 20(4), 30-37.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (1991). Education administration Theory
research and practice. Singapore: McGraw-Hill.
Hoy, W. K., & Sabo, J. D. (1997). Quality middle schools. Open and healthy. Englewood Cliffs,NJ: Prentce-Hall.
Miles, M. B. (1973). Planned change and organizational health: Figure
and ground in Educational administration and the behavioral science. A system perspective. Boston: Allyn and Bacon.
Tarter, C. J., & Hoy, W. K. and Kottkamp, R. B. (1990). Open schools,
healthy schools: measuring organizational climate. Journal of Research and Development in Education, 23(4), 236.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-06-2019