การพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่า ตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก

ผู้แต่ง

  • ปัณฑารีย์ เมฆมณี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก, สมรรถนะครูทหาร, การพัฒนาสมรรถนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก สมรรถนะครูทหาร การพัฒนาสมรรถนะ  2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่าตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. ผู้บริหารโรงเรียนเหล่า 2. ครู-อาจารย์โรงเรียนเหล่า 3. ผู้ใช้ผลผลิตจากโรงเรียนเหล่า เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเคราะห์ข้อมูล แบบประเมินกรอบแนวคิด และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบ ว่า (1) กรอบแนวคิดประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 13 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1. ขีดความ สามารถกำลังพลของกองทัพบก 1.1 ขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจในสงคราม (WAR) 1.2 ขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากสงคราม (MOOTW) 2. สมรรถนะครูทหาร 2.1 สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน 
2.2 สมรรถนะด้านความเป็นครูทหาร  2.3 สมรรถนะด้านคุณลักษณะทางทหาร 2.4 สมรรถนะด้านความรู้เทคนิคเฉพาะเหล่า 3.  การพัฒนาสมรรถนะ 3.1 การฝึกอบรมขณะทำงาน 3.1.1 การมอบหมายงาน 3.1.2 การสอนงาน 3.1.3 การฝึกงาน 3.2 การฝึกอบรมนอกงาน 3.2.1 การอบรมสัมมนา 3.2.2. การอบรมผ่านสื่อออนไลน์  (2) สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่าตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลในการปฏิบัติภารกิจในสงคราม (WAR) ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.3884 และ 4.1499 ตามลำดับ ในขณะที่สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่าตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลในการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากสงคราม (MOOTW) ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.4009  และ 4.1992 ตามลำดับ)

References

ภาษาไทย
กนิน แลวงค์นิล. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมกำลังพลทหารบก. (2560). เอกสารโครงการพัฒนาระบบสมรรถนะกำลังพลกองทัพบก. กองการศึกษา
กรมกำลังพลทหารบก. กรุงเทพมหานคร. อัดสำเนา.
กรมยุทธศึกษาทหารบก. (2554). คู่มือการปลูกฝังและสร้างเสริมอุดมการณ์ทหารกองทัพบก. ศูนย์พัฒนาหลัก
นิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก. กรุงเทพ: หจก.อรุณการพิมพ์.
กรมยุทธศึกษาทหารบก. (2558). กองทัพบกกับภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ. ศูนย์พัฒนาหลักนิยมและ
ยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก. กรุงเทพ: หจก.อรุณการพิมพ์.
กองการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารบก (2559). การพัฒนาและยกระดับมาตราฐานการศึกษาของโรงเรียน
เหล่าสายวิทยาการ. ยุทธโกษ. กรุงเทพ: หจก.อรุณการพิมพ์.
กองทัพบก. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา สถาบันการศึกษาโรงเรียนเหล่า/สายวิทยาการและ
หน่วยจัดการศึกษาของกองทัพบก พ.ศ. 2558 กรุงเทพฯ กรมยุทธศึกษาทหารบก
กองบัญชาการทหารสูงสุด. (2543). คู่มือครูและอาจารย์สถาบันการศึกษาของกองทัพ. กรุงเทพมหานคร
ชยการ คีรีรัตน์. (2560). ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานและการเรียนรู้ส่วนบุคคลเพื่อพัฒนาสมรรถนะของ
ผู้ประกอบวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร
การศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลลดา หลวงพิทักษ์. (2540). คู่มือการฝึกอบรมด้วยเทคนิค OJT. กรุงเทพฯ. บริษัท ส.เอเซียเพรส จำกัด.
ชวนณรงค์ ชื่นจันทร์, พันโท. (2546). การพัฒนาสมรรถนะและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการศึกษาของ
อาจารย์ส่วนวิชาทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชูชัย สมิทธิไกร. (2558). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา. (2551). กองทัพไทยกับภัยคุมคามรูปแบบใหม่. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์อักษรข้าวสวย.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และ พรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่
เปลี่ยนแปลง. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. บริษัทพริกหวานกราฟฟิค
จำกัด.
พร ภิเศก, พันเอก. (2546). วัฒนธรรมองค์การและปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเหล่า
สายวิทยาการของกองทัพบก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และคณะ. (2553). รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครู
และบุคลากรทางการศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. บริษัทพริก
หวานกราฟฟิค จำกัด
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และคณะ. (2555). รูปแบบการจัดการศึกษาและพัฒนาครูตามแนวทางพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี : บทเรียนจากโครงการพระราชทานความ
ช่วยเหลือความช่วยเหลือทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และคณะ. (2560). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาแนวทางการเข้าสู่ตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสถานศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. บริษัทพริกหวาน
กราฟฟิค จำกัด.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และคณะ. (2561). การพัฒนาการขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะ
สูงสำหรับประเทศไทย 4.0. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. บริษัทพริก
หวานกราฟฟิค จำกัด
พศิน แตงจวง. (2554). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ. ดวงกมลพับลิซซิ่ง.
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. เอกสารการนำเสนอเรื่องความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ.
สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2562. จาก ndsi.rtarf.mi.th/download/ndsi-edu/ powerpoint/
tahnan.pptx
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2559). การพัฒนา Core Competency บนแนวคิด 70:20:10 (Core Competency
Development Program on 70:20:10 Learning Model). กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์


ภาษาอังกฤษ
International Board of standards for Training, Performance and Instruction. (2003).
Instructor Competency and Outcomes Matrix. TRADOC Reg 600-21.
Liston W. Bailay. (2012). Training and Developing Army Instructors Using the IBSTPI
Competency Framework. U.S. Army Institute.
Randy L. DeSimon., Jon M. Werner. (2012). Human Resource Development. South-
Western Cengage Learning.
Raymond A. Noe. (2010). Employee Training and Development. Singapore: Mcgraw-Hill.
Yamane, T. (1973). Statistic : an introductory analysis. New York: Harper & Row. 886.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-06-2019