การจัดการเรียนการสอนเชิงรุก เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อยตามแนวคิดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Active Learning Instruction to Develop the Learning Processes of Cadets Based on the Education for Sustainable Development Concept
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอนเชิงรุก, นักเรียนนายร้อย, กระบวนการเรียนรู้, การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อย 2) พัฒนา การจัดการเรียนการสอนในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อยผ่านการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ตามแนวคิดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนต่อการจัดกระทำการวิจัย กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 4 ที่เลือกลงวิชาเลือกเสรีในรายวิชา การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม และรายวิชาหัวข้อพิเศษทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา: ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปีการศึกษา 2559-2561
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อย ได้แก่ 1) ความสนใจใฝ่รู้และความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมในห้องเรียน 2) ประสบการณ์การทำงานหรือการร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรค์จากกิจกรรมเสริมหลักสูตรนอกห้องเรียน 3) การเปิดใจยอมรับต่อการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ 4) ฐานคติต่อความเชื่อมั่นและอคติในการพัฒนาตนเอง 5) ระดับความเข้าใจต่อกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งผลไปสู่ผลการเรียนรู้ 6) ครู อาจารย์ ผู้ทำการสอนที่มีความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และ 7) สิ่งแวดล้อมทางการศึกษาที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนที่ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ การจัดการเรียนการสอนเชิงรุกที่ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน คือ การจัดการเรียนการสอนที่มีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลายสะท้อนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงศักยภาพของผู้เรียน และมีการเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจนสอดคล้องกับบริบททางสังคม นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการปรับตัวและมีกระบวนการเรียนรู้ในระดับที่แตกต่างกัน แต่สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ การเรียนรู้เชิงรุกช่วยทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าต่อการศึกษา เนื่องจากมีความเข้าใจและเห็นความสำเร็จของตนเองในการพัฒนาผลการเรียนรู้ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
References
https://www.ar.or.th/ImageData/Magazine/10042/DL_10266.pdf?t=636133619021567242
จุติมา รัตนพลแสนย์. (2558). การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. เอกสารประกอบการสอน วิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. คระครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการจัดการเรียนรู้. วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2562, จากhttps://journal.rmutk.ac.th/index.php/rmutk/article/download/236/205
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2551). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: พื้นฐานการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล บรรจุสุวรรณ์. (2562). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ในการยกระดับความรู้สู่ความเข้าใจการเมืองและประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. (2562). เทคนิควิธีสอนที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). สืบค้น 10 พฤษภาคม 2562, จากhttps://arch.kbu.ac.th/home/research/pdf/academic/academic001.pdf
วัฒนา หงสกุล. (2562). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0 : Active learning management in Thailand 4.0 . การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ Gradute School Conference 2018. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2562, จาก https://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/1642/1521
สิทธิพงษ์ สุพรม. (2561). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2562, จาก https://tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/download/149198/119040/
สุภัทร ภูษิตรัตนาวลี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุริยา เหมตะศิลป. (2562). ศึกษาศาสตร์กับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สืบค้น 10 พฤษภาคม 2562, จากhttps://www.edu.tsu.ac.th/major/eva/files/journal/education_for_develop_to_last.pdf
อนุสิษฐ์ พันธ์กล่ำ และคณะ. (2560). ผลการใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. เอกสารรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4. สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี
บทความและข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อนเท่านั้น และบทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องไม่ปรากฎในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนที่จะปรากฎในวารสารนี้ กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ