ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล
คำสำคัญ:
สำนักงาน ป.ป.ช., พยานหลักฐาน, ทุจริตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ 1) วิเคราะห์ปัญหา กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในคดีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาฐานทุจริตต่อหน้าที่ 2) วิเคราะห์ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประจำจังหวัด ในการค้นหา ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐาน
วิธีการศึกษา คือ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการจัดประชุมระดมสมองในพื้นที่ 4 จังหวัด จากการศึกษาพบการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานไต่สวน ดังนี้ จำนวนปริมาณเรื่องกล่าวหามีจำนวนและอยู่ระหว่างการดำเนินการมาก พนักงานไต่สวนในพื้นที่ไม่สัมพันธ์กับปริมาณเรื่องกล่าวหา รวมถึงปริมาณงานด้านป้องกันอื่น ๆ ในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในพื้นที่ต้องช่วยเหลือกัน ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวกับคดี ประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานไต่สวนในบางพื้นที่ การสนับสนุนงานธุรการแก่พนักงานไต่สวนในการปฏิบัติหน้าที่ การขาดคู่มือในการปฏิบัติงานที่เป็นปัจจุบัน ปัญหาในการรวบรวมพยานหลักฐาน การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารราชการตามระบบงานสารบรรณของหน่วยงานผู้รับตรวจ การประสานระหว่างหน่วยงานรับตรวจหรือหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกกล่าวหาที่ดี ซึ่งส่งผลต่อความล่าช้าในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
จากปัญหาต่าง ๆ จึงนำมาสู่ 4 ข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพ 1) ผู้มีอำนาจหน้าที่ พิจารณากลั่นกรองการตรวจรับคำกล่าวหาอย่างมีประสิทธิภาพตามระเบียบฯ ใหม่ การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องหรือแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับระยะเวลาในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ ใหม่ 2) การฝึกอบรมในงานให้กับพนักงานไต่สวนที่ยังขาดประสบการณ์ ผู้ช่วยพนักงานไต่สวน การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอื่น ๆ ที่สำคัญเกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติงานของพนักงานไต่สวนในพื้นที่ การส่งเสริมหรืออบรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการเรื่องกล่าวหาในความรับผิดชอบ โดยการจัดลำดับความสำคัญของเรื่องกล่าวหา 3) การวิเคราะห์กรอบอัตรากำลังพนักงานไต่สวนในบางพื้นที่ให้สอดคล้องกับปริมาณเรื่องกล่าวหาในพื้นที่ 4) ข้อเสนอแนะสุดท้าย คือ การให้การเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับกฎหมายต่อต้านการทุจริต
References
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535, 2542
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วย การตรวจสอบและไต่สวน พ.ศ. 2561
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการตรวจสอบและไต่สวน พ.ศ. 2561
สำนักงาน ป.ป.ช.. ศูนย์การบริหารข้อมูลสำนักงาน ป.ป.ช. สำนักบริหารงานกลาง. (2561). สถิติและข้อมูลการร้องเรียนจังหวัดพื้นที่ศึกษาและองค์การบริหารส่วนตำบล 2561. ป.ป.ช: สำนักงาน
สำนักงาน ป.ป.ช.. ศูนย์การบริหารข้อมูลสำนักงาน ป.ป.ช. สำนักบริหารงานกลาง. (2561). ข้อมูลสถิติเรื่องกล่าวหาที่อยู่ระหว่างดำเนินการในเขตพื้นที่ศึกษา 2561. ป.ป.ช: สำนักงาน
สำนักงาน ป.ป.ช.. ศูนย์การบริหารข้อมูลสำนักงาน ป.ป.ช. สำนักบริหารงานกลาง. (2561). ข้อมูลสถิติลักษณะและประเภทเรื่องกล่าวหาทุจริตในพื้นที่ศึกษา 2561. ป.ป.ช: สำนักงาน
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. คู่มือการปฏิบัติงานไต่สวนข้อเท็จจริง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2555, 2555.
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการตรวจรับคำกล่าวหา การแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน พ.ศ. 2560, 2560.
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการไต่สวนข้อเท็จจริง พ.ศ. 2555, 2555.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี
บทความและข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อนเท่านั้น และบทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องไม่ปรากฎในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนที่จะปรากฎในวารสารนี้ กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ