การปรับตัวสู่ระบบราชการและการเกิดขึ้นของคนรุ่นใหม่ในภาคอีสาน ก่อน พ.ศ. 2475
คำสำคัญ:
อีสาน, ครู, ระบบราชการ, สำนึกพลเมือง, พลังทางสังคมใหม่บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์พิจารณาการปรับตัวสู่ระบบราชการของกลุ่มผู้ปกครองเดิมในภาคอีสานก่อน พ.ศ. 2475 ว่ามีลักษณะอย่างไร และผลที่เกิดขึ้นนั้นได้ส่งผลต่อการเกิดคนรุ่นใหม่ในภาคอีสานอย่างไร ตลอดจนแนวความคิดสำคัญของคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นพลังทางสังคมใหม่ในภาคอีสาน
ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้การปกครองของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ “ระบบราชการ” ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การขับเคลื่อนของรัฐสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะเช่นนี้ได้สร้างแรงดึงดูดให้ประชาชนส่วนหนึ่งในภาคอีสานปรับตัวเข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะ “ข้าราชการ” ขณะที่กลุ่มผู้ปกครองเดิม อาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวช่วยอุปถัมภ์หรือการมีชาติวุฒิที่ดีเป็นใบเบิกทาง ซึ่งคนเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการระดับสูงที่มีตำแหน่งหน้าที่ทางการปกครอง คนรุ่นใหม่ต่างต้องอาศัยการพากเพียรทางการศึกษาเป็นหนทางเกื้อหนุนเข้าสู่ระบบราชการ ซึ่งคนเหล่านี้เป็นข้าราชการระดับกลางและระดับล่าง พวกเขาจึงตระหนักในความสำคัญของการศึกษาและเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของตนเอง กอปรกับสำนึกพลเมืองที่ได้รับการปลูกฝังโดยรัฐ พวกเขาจึงมองตนเองและพี่น้องร่วมท้องถิ่นของตนในฐานะส่วนหนึ่งของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พึงได้รับการบำบัดทุกข์บำรุงสุขที่ดีจากรัฐบาล คนกลุ่มหลังนี้กลายเป็นพลังทางสังคมใหม่ที่เริ่มตั้งคำถามกับสภาพการณ์ต่าง ๆ ของท้องถิ่น รวมถึงการนำเสนอเรื่องราวปัญหาและแนวทางการพัฒนาภาคอีสานให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง
References
“เรื่องตั้งและย้ายตำแหน่งข้าราชการหัวเมืองมณฑลอุบลราชธานี.” 14 กรกฎาคม ร.ศ. 113-26 มกราคม ร.ศ. 115. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย. ร.5 ม. 2. 3/19. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
“เรื่องราชวงษ์เหล็กเข้าทำการในกองอำเภอ.” 13-15 มกราคม ร.ศ. 118. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย. ร.5ม. 1/17. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
“เรื่องตั้งและย้ายตำแหน่งข้าราชการหัวเมืองมณฑลอุดร.” 12 กรกฎาคม ร.ศ. 114-14 พฤษภาคม ร.ศ. 119. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย. ร.5 ม. 2. 3/30. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
“เรื่องรายงานมณฑลอุดร.” 7 สิงหาคม ร.ศ. 120-7 กรกฎาคม ร.ศ. 129. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย. ร.5 ม. 59/41. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
“เรื่องโรงเรียนและการเล่าเรียนมณฑลอิสาณ.” 23 ตุลาคม 2453-3 ตุลาคม 2456. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงศึกษาธิการ. ร.6 ศ. 4/22. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
“เรื่องรายงานราชการมณฑลอุดร (ลาวพวน).” 5 พฤศจิกายน 2453- 31 ตุลาคม 2461. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย. ร.6 ม. 28/1. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
“เรื่องจังหวัดมหาสารคาม.” 19 พฤษภาคม-27 ตุลาคม 2471. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ข่าวในหนังสือพิมพ์. ร.7 ม. 26. 5ก/19. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
“เรื่องสภาพการณ์แห่งภาคอิสาณ.” 2-13 เมษายน 2472. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ข่าวในหนังสือพิมพ์. ร.7 ม. 26. 4/78. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
“เรื่องจังหวัดร้อยเอ็ด.” 5 มิถุนายน 2471-30 กันยายน 2472. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ข่าวในหนังสือพิมพ์. ร.7 ม. 26ก/28. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
“เรื่องจังหวัดขอนแก่น.” 9 มิถุนายน 2471-15 กันยายน 2472. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ข่าวในหนังสือพิมพ์. ร.7 ม. 26. 5ก/30. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
จังหวัดอุบลราชธานี.” 21 มิถุนายน 2471-8 กรกฎาคม 2472. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ข่าวในหนังสือพิมพ์. ร.7 ม.26 5ก/38. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
“เรื่องโรงงานชูชาติ มณฑลอุบลราชธานี.” 18 เมษายน 2466-เมษายน 2469. เอกสารส่วนพระองค์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. สบ. 2.28/3. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2558). ความเป็นสมัยใหม่ในวรรณกรรมของคณะสุภาพบุรุษ. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2562, จาก https://prachatai.com/journal/2015/01/57469
ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2546). การเมืองสองฝั่งโขง. กรุงเทพฯ: มติชน.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2560). การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
ประนุช ทรัพยสาร. (2550). พัฒนาการของสังคมอีสานในพุทธศตวรรษที่ 24-25. (งานวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
พิรุฬห์ สวัสดิ์รัมย์. (2530). การปฏิรูปการศึกษาในมณฑลอีสาน พ.ศ. 2442-2475. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร).
พีรยา คูวัฒนะสิริ. (2533). แนวคิดและบทบาททางการเมืองของทองอินทร์ ภูริพัฒน์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
มาลี บุญศิริพันธ์. (2548). เสรีภาพหนังสือพิมพ์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เลียง ไชยกาล. (2510). ความรู้เรื่องเมืองไทย (ภาคอีสาน). ใน ประวัติมหาดไทยของหลวงวิวิธสุรการ. พระนคร. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงวิวิธสุรการ 21 ตุลาคม 2510).
วิสุทธ์ บุษยกุล. (2553). เตียง ศิริขันธ์: วีรชนประชาธิไตย ขุนพลภูพาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แม่คำผาง.
วิลาศ โพธิสาร. (2536). รถไฟกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนล่าง ระหว่างปี พ.ศ. 2469-2484. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
สายชล สัตยานุรักษ์. (2558). โครงการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่: ประวัติศาสตร์สังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุเชาวน์ มีหนองหว้าและกิติรัตน์ สีหบัณฑ์. (2549). นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
อรรถ นันทจักร, บรรณาธิการ. (2533).“ลุงวัฒนา” บันทึกประวัติศาสตร์ประชาชน: จากเสรีไทยถึงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย. มหาสารคาม: ม.ป.ท.
อ่ำ บุญไทย. (2543). กฤดาการบนที่ราบสูง. กรุงเทพฯ: สมาคมมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี
บทความและข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อนเท่านั้น และบทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องไม่ปรากฎในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนที่จะปรากฎในวารสารนี้ กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ