การรับรู้ความเสี่ยงและการแก้ปัญหาการถูกกลั่นแกล้งบนพื้นที่ไซเบอร์ของกำลังพลในกองทัพบก

ผู้แต่ง

  • จิราภา พึ่งบางกรวย Faculty of Management and Tourism, Burapha University

คำสำคัญ:

การกลั่นแกล้งบนพื้นที่ไซเบอร์, การรับรู้ความเสี่ยง, กำลังพลกองทัพบก

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการรับรู้ความเสี่ยงและการแก้ปัญหาการถูกกลั่นแกล้งบนพื้นที่ไซเบอร์ของกำลังพลในกองทัพบก มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเบื้องต้นถึงอัตราการถูกกลั่นแกล้งบนพื้นที่ไซเบอร์ของกำลังพลในกองทัพบก 2) ศึกษารูปแบบการถูกกลั่นแกล้งบนพื้นที่ไซเบอร์ของกำลังพลในกองทัพบก 3) ศึกษาการแก้ปัญหาของกำลังพลในกองทัพบกเมื่อถูกกลั่นแกล้งบนพื้นที่ไซเบอร์ และ 4) ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ความเสี่ยงในการถูกกลั่นแกล้งบนพื้นที่ไซเบอร์ ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกำลังพลทุกระดับชั้นยศที่สังกัดอยู่ในกองทัพบก ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางแบบไม่รู้ขนาดของประชากรของ Taro Yamane ที่ระดับค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 มีขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 400 ตัวอย่าง ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากกำลังพลของกองทัพบกในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสมการการถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า กำลังพลทั้งหมดเป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่ามีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 27 ปี มีรายได้ 10,000-15,000 บาท/เดือน ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร ชั้นยศในระดับสิบตรีถึงจ่าสิบเอก จะใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ กำลังพลในกองทัพบกมีอัตราการถูกกลั่นแกล้ง ร้อยละ 45 และรูปแบบของการถูกกลั่นแกล้งส่วนใหญ่จะเป็นการถูกล้อเลียนวิธีการแก้ปัญหาเมื่อถูกกลั่นแกล้ง ได้แก่ การจัดการกับเทคโนโลยีเป็นลำดับแรก รองลงมาคือการจัดการกับตนเอง และลำดับสุดท้าย คือ การจัดการกับผู้กลั่นแกล้ง

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า พฤติกรรมเสี่ยงที่มีอิทธิพลก่อให้เกิดการรับรู้ถึงความเสี่ยงในการถูกกลั่นแกล้งบนพื้นที่ไซเบอร์ ได้แก่ การมีเพื่อนที่รู้จักกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การนัดเจอกับคนแปลกหน้าที่รู้จักกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จักกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

References

เฉลิมรัตน์ สามคุ้มพิมพ์. (2558). สถานการณ์การกลั่นแกล้งบนพื้นที่ไซเบอร์และแนวทางการวัดประเมิน. วารสารวัดผลทางการศึกษา, 32(92), 1-12.

ชินดนัย สิริสมฤทัย. (2560). การรับรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการเกิดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (รายงานการค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชุตินาถ ศักรินทร์กุล และอลิสา วัชรสินธุ. (2557). ความชุกของการข่มเหงรังแกและปัจจัยด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในเด็กมัธยมต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(3), 221-230.

ณัฐรัชต์ สาเมาะ, พิมพวัลย์ บุญมงคล, Timo, T. O., รณภูมิ สามัคคีคารมย์, และThomas, E. G. (2557). การรับรู้ของเยาวชนต่อการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 6(1), 351-364.

ตฤณธวัช วงษ์ประเสริฐ, และกุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2559). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ของวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 3, 29-46.

ธันยากร ตุดเกื้อ, เกษตรชัย และหีม, และฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2562). แนวทางการป้องกันพฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 11(1), 91-106.

ปองกมล สุรัตน์. (2561). สาเหตุและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการรังแกผ่านโลกไซเบอร์: กรณีศึกษาเยาวชนไทยผู้ถูกรังแก. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 260-273.

ปองกมล สุรัตน์, ฐาศุกร์ จันประเสริฐ, และนำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2561). กระบวนการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในเยาวชนไทย: การศึกษาแบบพหุกรณี. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(2) 61-79.

พรชนก ดาวประดับ และกัลยกร วรกุลลัฏฐานี. (2561). รูปแบบและลักษณะการมีส่วนร่วมในการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 4(3), 63-78.

พิมพ์พวัลย์ บุญมงคล, ณัฐรัชต์ สาเมาะ, มุจลินท์ ชลรัตน์, และโธมัน กวาดามูส. (2558). การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายโรงเรียนเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่ออนไลน์ในกลุ่มเยาวชน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

เมทินี สุวรรณกิจ. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกกลั่นแกล้งในสังคมออนไลน์. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2), 49-70.

ฤทัยชนนี สิทธิชัย และธันยากร ตุดเกื้อ. (2560). พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(1), 86-99.

วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์, ศิวพร ปกป้อง, นันทนัช สงศิริ, และปองกมล สุรัตน์. (2552). พฤติกรรมการข่มเหงรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย.

วัฒนาวดี ศรีวัฒนพงศ์ และพิมผกา ธานินพงศ์. (2558). สื่ออิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ตที่มีต่อพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนในโรงเรียน เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 1(2), 128-144.

สรานนท์ อินทนนท์ และพลินี เสริมสินสิริ. (2561). การศึกษาวิธีการป้องกันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic day ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). พฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2562 (รายงานการสำรวจ). กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม.

สุภาวดี เจริญวานิช. (2560). การรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์: ผลกระทบและการป้องกันในวัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(4 ), 639-648.

สุวิมล ติรกานันท์. (2548). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนันต์ วิวัฒนเดชา. (2560). ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ต่อความรุนแรงของการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมรทิพย์ อมราภิบาล. (2559). เหยื่อการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในกลุ่มเยาวชน: ปัจจัยเสี่ยง ผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการปรึกษาบุคคลที่สาม. วารสารวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(1), 59-73.

อัปสร เสถียรทิพย์. (2560). การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.

David-Ferdon C, and Hertz M.F. (2007). Electronic media, violence, and adolescents: an emerging public health problem. Journal of Adolesc Health, 41(6), 1–5.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B.J., and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Kowalski, R. M., Limber, S. P., and Agatston, P W. (2008). Cyber bullying: bullying in the digital age. Massachusetts: Blackwell.

Paul, L. (2011). Bullying in Schools: What you need to know. New Jersey: Townsend Press Inc.

Pornari, D., and Wood, J. (2010). Peer and cyber aggression in secondary school students: The role of moral disengagement, hostile attribution bias, and outcome expectancies. Aggressive Behavior, 36, 81-94.

Raskauskas, J. and Stoltz, A. D. (2007). Involvement in traditional and electronic bullying among adolescents. Developmental Psychology, 43, 564-575.

Strom, P. S., and Strom, R. D. (2005). When teens turn cyberbullies. The Educational Digest, 71(4), 35-41.

Tokunaga, R. S. (2010). Following you home from school: A critical review and synthesis of research on cyberbullying victimization. Computers in Human Behavior, 26, 267-277.

Wolak, J., Mitchell, K. and Finkelhor, D. (2007). Does online harassment constitute bullying? An exploration of online harassment by known peers and online-only contacts. Journal of Adolescent Health, 41, 551–558.

Zhao, A. L., S. Hammer-Lloyd and M. M. H. G. Philippa Ward. (2008). Perceived risk and Chinese consumers’ internet banking services adoption. International Journal of Bank Marketing, 26(7), 505-525.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

24-06-2020