แนวทางการบูรณาการการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อใช้ในหน่วยงานและชุมชน

ผู้แต่ง

  • อิทธิวดี อึ้งรัศมี สำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • นิรมล สิริภัคนันท์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ตลอดชีวิต, ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน, ผู้ชี้นำตนเอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบูรณาการการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อใช้ในหน่วยงานและชุมชนโดยมุ่งเน้นการบูรณาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคมโลกนั้นล้วนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร กลุ่มที่จัดอยู่นอกระบบการศึกษาในช่วงวัยผู้ใหญ่ พบว่า มีทักษะด้านภาษาอังกฤษ ในระดับต่ำ เกิดปัญหาในการทำงานหรือการสื่อสารในการค้าขาย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาหรือจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะในหน่วยงานและชุมชน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับกลุ่มนี้ โดยนำแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อทำให้ผู้เรียนรู้ วัยผู้ใหญ่สามารถชี้นำตนเองสู่การเรียนรู้และให้การเรียนรู้นั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ได้เสนอแนวทางการบูรณาการการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ช่วยให้หน่วยงาน ชุมชน ใช้เป็นประโยชน์ในการจัดการบริหารอย่างเป็นขั้นตอน โดยจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ ในหน่วยงานและชุมชน หาเครือข่ายความร่วมมือ และจัดหาบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษและผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นส่วนช่วยส่งเสริมและพัฒนาให้บุคคลในชุมชนมีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้เป็นคนมีความรู้ สามารถนำความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ เมื่อบุคคลเป็นผู้รักการเรียนรู้และเป็นบุคคลที่พัฒนาศักยภาพของตนเองเต็มขีดความสามารถแล้ว ก็จะเป็นบุคคลกลุ่มสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อน และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้าและก้าวทันสังคมโลกต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท สยาม สปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.

จินตนา สุจจานันท์. 2554. การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

ดุษณี ดำมี. 2557. การศึกษาตลอดชีวิต: พัฒนาสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้. Mahidol R2R e-Journal, 1(2) สืบค้นจาก https://doi.org/10.14456/jmu.2014.5

ปิยะ ศักดิ์เจริญ .(2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการชี้นำตนเอง: กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต, วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 9-13.

ศักรินทร์ ชนประชา (2562). การศึกษาตลอดชีวิต. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563

จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NUR_YIU/article/download/137662/145886/ .

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2554). อนาคตภาพรูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงบวกสำหรับชุมชน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2557). การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Education and Lifelong Learning. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Drucker, P. (1993). Post-Capitalist Society. New York: Harper Business.

Dweck, C. (2012). Mindset: How You Can fulfill Your Potential. London: Robinson.

Graddol, D. (2006). English next. London: British Council.

Husen, T. (1974). The Learning Society. London: Methuen.

Hutchins, R. M. (1970). The Learning Society. Harmondsworth: Penguin.

Kinsch,I. (2001). International Adult literacy Survey (IALS): Understanding what was measures. Retrieved from://www.ets.org/portal/site/menuitem

Knowles, M. 1980. The Modern Practice of Adult Education: What is Andragogy. Chicago: Follet.

Longworth, N., & Osborne, M. (Eds.). (2000). Perspectives on learning cities and regions: Policy, practice and participation. Leicester. England: National Institute of Adult Continuing Education.

OECD. (1998). High level seminar on competitive strength and social cohesion through learning cities and regions: Concepts, developments, evaluation. Paris: Center for Research and Innovation.

Ranson, S. (1994). Towards the Learning Society. London: Cassell.

Schon, D. (1963). The Theory and Rhetoric of the Learning Society. Retrieved from http://www.infed.org/lifelonglearning/b-lrnsoc.htm

The Global Competitiveness Report 2017–2018. (2017). Retrieved from

https://www.weforum.org/reports/the-global-competitiveness-report-2017-2018

UNESCO. (2005). Towards knowledge societies. UNESCO World Report. UNESCO Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-09-2021