การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ ด้วยการทำเหมืองข้อมูล โดยเทคนิคกฎความสัมพันธ์

ผู้แต่ง

  • กุลวดี เถนว้อง ภาควิชาสุขศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปวีณา เมธีวรกิจ
  • ปิยธิดา ต.ไชยสุวรรณ
  • ธัชกร อ่อนบุญเอื้อ

คำสำคัญ:

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเรียน, ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ, การทำเหมืองข้อมูล, เทคนิคกฎความสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการเรียนเฉลี่ยกับทัศนคติ พฤติกรรมในการเรียน และหาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการเรียนของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ และ 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ของรูปแบบข้อมูลในการเรียนของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ ด้วยแรงจูงใจ ทัศนคติ และพฤติกรรม โดยกฎความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จำนวน 180 คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วย Fisher’s Least Significant Difference (LSD) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปแบบข้อมูลด้วยการทำเหมืองข้อมูล โดยเทคนิคกฎความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีแรงจูงใจและทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับสูง มีพฤติกรรมการปฏิบัติเป็นบางครั้ง เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการเรียนเฉลี่ยกับทัศนคติในการเรียนพบว่า นักศึกษาที่มีผลการเรียนเฉลี่ยต่างกันมีทัศนคติในการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการเรียนเฉลี่ยกับพฤติกรรมในการเรียน พบว่า ผลการเรียนเฉลี่ยต่างกันนักศึกษามีพฤติกรรมไม่แตกต่างกัน และผลทดสอบความสัมพันธ์พบว่า แรงจูงใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ทัศนคติและพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสัมพันธ์ของรูปแบบข้อมูลด้านแรงจูงใจ คือ การได้เกรดดีและความต้องการสืบค้นข้อมูล ด้านทัศนคติ คือ ความต้องการมีเพื่อนต่างชาติ การพัฒนาตนเองทำให้ได้ทุนไปศึกษาต่างประเทศ และด้านพฤติกรรม คือ การคบเพื่อนที่ตั้งใจเรียน การเข้าเรียนสม่ำเสมอ และส่งงานทุกครั้ง

References

กฤชเชาว์ นันทสุดแสวง. (2563). ทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับต่ำ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(1), 189-203.

ชัยวัฒน์ บวรวัฒนเศรษฐ์. (2563). การศึกษาสภาพการเรียนรู้นอกชั้นเรียน ปัจจัยที่มีอิทธิพล และความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 4. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 7, 37-50.

จารุพร ตั้งพัฒนกิจ. (2563). อิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษโดยมีแรงจูงใจเป็นตัวแปรคั่นกลางและความวิตกกังวลเป็นตัวแปรกำกับ. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 8(2), 111-126.

ฉัตรชนก เฮงสุโข กรรณิการ์ บุญขาว นิรันดร สีหะนาม และวิสิทธิ์ มะณี. (2562). สถานการณ์ปัจจุบันและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของคนไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร., 7(1), 155-160.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2563). เกรด: สัญลักษณ์และการให้ความหมายในมุมมองผู้สอนและผู้เรียน. วารสารวิจัยวิชาการ, 3(3), 175-186.

พรพิมล ชัยวุฒิศักดิ์ และยุวดี กล่อมวิเศษ. (2562). การพัฒนากฎการทำนายผลการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรามคำแหง, 22(2), 43-54.

วราภรณ์ ไวคกุล โรจนรินทร์ โกมลหิรัญ และภัทราภรณ์ สอนคำมี. (2557). ศึกษาความผิดพลาดของการใช้สถิติสำหรับการวิจัยทางวิสัญญีวิทยา. วิสัญญีสาร, 40(1), 64-77.

ศราวุธ แดงมาก. (2560). โลกแห่งดิจิทัล ยุคแห่งข้อมูลข่าวสารความมหาศาลของข้อมูลทางการแพทย์ สู่การค้นพบความรู้ที่มีค่าด้วยการทำเหมืองข้อมูล. เวชบันทึกศิริราช, 10(1), 29-33.

ศิริชัย กาญจนวาสี ดิเรก ศรีสุโข และทวีวัฒน์ ปิตยานนท์. (2558). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 6(1), 15-35.

ศุภิกา นิรัติศัย. (2561). ทัศนคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(2), 138-170.

สุวิมล สิทธิชาติ. (2560). การวิเคราะห์คุณลักษณะพื้นฐานทางการศึกษาด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 13(2), 20-28.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. (2548). รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ ปีการศึกษา 2562-2563. สืบค้นจาก http://regis.rmutto.ac.th/registrar/home.asp

อัญชนา กลิ่นเทียน และจรัญ แสนราช. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนสาขาการผลิตสื่อดิจิตอลแอนนิเมชั่นมัลติมีเดียและเกมส์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 2(1), 25-41.

Al-Tamimi, A., & Shuib, M. (2009). Motivation and Attitudes Towards Learning English: A Study of Petroleum Engineering Undergraduates at Hadhramout University of Sciences and Technology. GEMA Online Journal of Language Studies, 9(2). 29-55.

Anirut, j. (2562). 10 ภาษาต่างประเทศที่ดีที่สุดสำหรับการทำธุรกิจที่ SME ไม่ควรมองข้าม. HIGHLIGHT, THE ACADEMY. สืบค้นจาก https://www.smartsme.co.th/content/111044

Bachtiar, F. A., Sulistyo, G. H., Cooper, E. W., & Kamei, K. (2014). Modeling student affect in English learning achievement using association rules. In The Asian Conference on Society, Education and Technology, October 28 - November 2 Osaka: Japan.

Chang, C. H., & Liu, H. J. (2013). Language Learning Strategy Use and Language Learning Motivation of Taiwanese EFL University Students. Electronic Journal of Foreign Language Teaching, 10(2), 196-209.

Gardner, R.C. & Lambert, W. E. (1972). Attitude and Motivation in Second Language Learning. Newbury Rowley, 786, 43-54.

Gardner, R. C. (1985). Social psychology and second language learning: The role of attitudes and motivation. London: Edward Arnold.

Manjarres, A. V., Sandoval, L. G. M., & Suárez, M. S. (2018). Data mining techniques applied in educational environments: Literature review. Digital Education Review, 33, 235-266.

Weinstein, C. E., Palmer, D., & Schulte, A. C. (1987). Learning and Study Strategies Inventory (LASSI). North Carolina State University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-09-2021