การศึกษาพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาระดับกรอบคิดติดยึดของนักเรียนนายร้อย: กรณีศึกษาอาจารย์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ผู้แต่ง

  • นัฐพร เกียรติบัณฑิตกุล ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการสอน , กรอบคิดติดยึดแบบเติบโต , การพัฒนา

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าที่ส่งผลต่อการพัฒนาระดับกรอบคิดติดยึดของนักเรียนนายร้อยให้สูงขึ้น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยพื้นฐานของอาจารย์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ที่ส่งผลต่อการพัฒนาระดับกรอบคิดติดยึดของนักเรียนนายร้อยให้สูงขึ้น โดยใช้งานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ฯ จำนวน 123 นาย ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามที่พัฒนาจากแนวทาง PARA MATTER สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T) และการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA)

     ผลการวิจัยพบว่า 1) อาจารย์ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่พัฒนากรอบคิดติดยึดของนักเรียนนายร้อยให้สูงขึ้นเป็นประจำ โดยอาจารย์มีการให้นักเรียนนายร้อยตั้งเป้าหมายในการเรียนมากที่สุด และ 2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของอาจารย์ พบว่า อาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการมีค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมด้านการให้นักเรียนนายร้อยตั้งเป้าหมายในการเรียนและการเป็นแบบอย่างของความไม่ย่อท้อต่อปัญหาที่เกิดขึ้นสูงกว่าอาจารย์ที่ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้อาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการสอน 7 ปีขึ้นไปมีค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมด้านการเป็นแบบอย่างของความไม่ย่อท้อต่อปัญหาที่เกิดขึ้นสูงและการปฏิบัติต่อนักเรียนนายร้อยเท่าเทียมกันสูงกว่าอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการสอน 1-6 ปี รวมถึงอาจารย์สายวิทยาศาสตร์ มีระดับพฤติกรรมด้านความพยายามไม่ย่อท้อน้อยกว่าอาจารย์สายอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

นัฐพร เกียรติบัณฑิตกุล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างกรอบคิดติดยึดและการรับรู้ความสามารถแห่งตนของนักเรียนนายร้อย. ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.

เนตรนิยมาศ วรรณพยันต์. (2560). วิถีครูกับการพัฒนากรอบความคิดศิษย์. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 15(2), 185-195.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

ปัทมาภรณ์ ศรีราษฎร์. (2561). แนวทางการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของครู. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 13(1), 389-399.

ปองสิน วิเศษศรี และอารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์. (2563). นิวนอร์มัลในโรงเรียนนายร้อย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 126-141.

พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. (2561, 22 มิถุนายน). พจนานุกรมศัพท์ที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ การปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ ประชารัฐ และประเทศไทย 4.0 ชุดที่ 2. [Status update]. Facebook. https://www.facebook.com/RatchabanditThai/posts/1897231787001574/

พวงชมพู โจนส์. (2559). การสร้างกระบวนการทางความคิด (Mindset) สำหรับบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(1), 1-9.

มารุต พัฒผล. (2560). การโค้ชเพื่อเสริมสร้าง Growth mindset ของผู้เรียน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริภพ โสมาภา. (2561). การบริหารหลักสูตรฝึกอบรมเยาวชนเกี่ยวกับแนวคิดเติบโตและการเห็นคุณค่าในตนเอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Alerson, L. (2018, Jan 18). Growth Mindset: The Door to Achieving More. https://www.free-ebooks.net/ebook/GrowthMindset-The-Door-to-Achieving-More

Brock, A., & Hundley, H. (2016). The Growth Mindset Coach: A Teacher’s Month by Month Handbook for Empowering Students to Achieve. Ulysses Press.

Chan, D. W. (2012). Life satisfaction, happiness, and the growth mindset of healthy and unhealthy perfectionists among Hong Kong Chinese gifted students. Roeper Review, 34(4), 224-233.

Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. Random House.

Dweck, C.S. (2017). Mindset: Changing the way you think to fulfil your potential. Robinson.

Dweck, C., Walton, G., & Cohen, G. (2014). Academic Tenacity: Mindset and Skills that Promote Long-Term Learning. Bill & Melinda Gates Foundation.

Gawron, H. (2018). Just Ask Us: Kids Speak Out on Student – Engagement. A SAGE Company.

Goldberg, G. (2016). Mindset & Moves: Strategies that Help Readers Take Charge. Corwin.

Marz, K., & Hertz, C. (2015). A Mindset for Learning: Teaching the Traits of Joyful, Independent Growth. Heinemann.

Murphy, M. C., & Dweck, C. S. (2015). Mindsets shape consumer behavior, Journal of Consumer Psychology, 21(1), 22-35.

Swann, W., & Snyder, M. (1980). On translating beliefs into action: Theories of ability and their application in an instructional setting. Journal of Personality and Social Psychology, 38(6), 879-888.

Truax, M. (2018). The Impact of Teacher Language and Growth Mindset Feedback on Writing Motivation. Literacy Research & Instruction, 57(2), 135–157.

Vedder, W. & Fortus D. (2013). Measuring students' continuing motivation for science learning. Journal of Research in Science Teaching, 51(4), 497-522.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-09-2022