การนำนโยบายกำกับดูแลมาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยไปปฏิบัติ
คำสำคัญ:
การนำนโยบายไปปฏิบัติ , การรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน , ผู้กำกับดูแลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและสาระสำคัญ ปัญหาและอุปสรรคเพื่อพัฒนาแนวทางที่มีประสิทธิภาพต่อการนำนโยบายกำกับดูแลมาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยไปปฏิบัติ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 คน โดยนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า นโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ค.ศ.1944 โดยมีวัตถุประสงค์ในการปกป้องการบินพลเรือนให้พ้นจากการกระทำอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยปัญหาที่พบจากการนำนโยบายไปปฏิบัติ คือ การขาดความสม่ำเสมอของมาตรฐานในการดำเนินงานกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน สำหรับข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรกำหนดมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบมาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน รวมถึงประเมินความเสี่ยงเพื่อจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือน
References
พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562. (2562, 26 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 68ก, หน้า 74-85.
ศวิตา ประจวบแสง. (2555). กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติของพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2562). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ (พิมพ์ครั้งที่ 30). เสมาธรรม.
หัสญา พิมพ์สระเกษ. (2555). การนำนโยบายป้องกันและควบคุมไข้หวัดนกไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Abbott, A. (1990). A primer on sequence methods. Organization Science 1, 4, 375–392.
Barrett, S., & Fudge, C. (1981). Policy and action: Essays on the implementation of public policy. Methuen.
Fusch, G. E., Fusch, P., & Ness, L. R. (2018). Denzin’s Paradigm Shift: Revisiting Triangulation in Qualitative Research. Journal of Social Change, 10(1), 19–32.
International Civil Aviation Organization [ICAO]. (2020). Annex 17 – Security. Quebec: ICAO.
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1984). Qualitative data analysis: A sourcebook of new methods. Sage.
Organization for Economic Co-operation and Development [OECD]. (2014). The Governance of Regulators, OECD Best Practice Principles for Regulatory Policy, OECD.
Pressman, J. L., & Wildavsky, A. (1973). Implementation. University of California Press.
Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1976). The Implementation of Intergovernmental Policy. Sage.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี
บทความและข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อนเท่านั้น และบทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องไม่ปรากฎในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนที่จะปรากฎในวารสารนี้ กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ