ชีวิตและการเอาตัวรอดของชาวเวียดนามอพยพในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ทศวรรษ 1940 – 1960

ผู้แต่ง

  • วีรภัทร ผิวผ่อง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ชาวเวียดนามอพยพ , ภัยคุกคาม , คอมมิวนิสต์ , การดำเนินชีวิต , การเอาตัวรอด

บทคัดย่อ

     ในทศวรรษ 1940 -1960 ชาวเวียดนามอพยพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทยเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยที่ถูกจับตามองหรือเฝ้าระวังเป็นพิเศษจากรัฐไทยด้วยความสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ที่รัฐบาลไทยถือว่าเป็นภัยคุกคามสำคัญ ชาวเวียดนามอพยพจึงต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายในการดำรงชีวิตทั้งจากการกระทำของรัฐและประชาชนในพื้นที่ ชีวิตของชาวเวียดนามในฐานะ “ญวนอพยพ” จึงดูเหมือนเปราะบางไร้ซึ่งหลักประกันและความมั่นคงในชีวิต อย่างไรก็ตาม ชาวเวียดนามอพยพมีวิธีในการดิ้นรนเอาตัวรอดและแสวงหาความมั่นคงในชีวิต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในประเทศไทยได้อย่างปกติสุขที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

     บทความนี้มุ่งศึกษาประเด็นการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดของชาวเวียดนามอพยพภายใต้แรงกดดันและความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นผลมาจากนโยบาย ทัศนคติ และการกระทำของรัฐบาลไทย และผู้คนในชุมชน โดยวิเคราะห์จากตัวอย่างชีวิตของชาวเวียดนามอพยพบางราย เพื่อเข้าใจการดิ้นรนเอาตัวรอดของชาวเวียดนามอพยพในภาพรวม หลักฐานที่ใช้ศึกษาเป็นหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรที่เกี่ยวข้องกับชาวเวียดนามอพยพ เช่น บันทึกคำให้การในคดีความของชาวเวียดนามอพยพ และจดหมายร้องเรียนของ    ชาวเวียดนามอพยพ จากการศึกษาพบว่า เพื่อเอาตัวรอดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ชาวเวียดนามอพยพใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น อาศัยความสัมพันธ์กับชาวไทยในพื้นที่หรือความสัมพันธ์ระหว่างชาวเวียดนามอพยพด้วยกันเอง นอกจากนี้ยังใช้ช่องว่างทางกฎหมายและการหลบเลี่ยงกฎหมายด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพ และดำเนินชีวิตต่อไปได้ อีกทั้งใช้วิธีเขียนจดหมายร้องเรียนเรื่องที่ไม่เป็นธรรม หรือความเดือดร้อน ในการดำเนินชีวิตไปยังรัฐบาลไทยและหน่วยงานนานาชาติที่กำกับดูแลชาวเวียดนามอพยพที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยอีกด้วย

References

ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. (2521). ญวนอพยพ. ดวงกมล.

ธนนันท์ บุ่นวรรณา. (2545). นโยบายชาวเวียดนามอพยพของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2491-2500. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญาทิพย์ ศรีพนา. (2548). เหวียต เกี่ยวในประเทศไทยกับความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม. ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์.

นิษฐนาถ นิลดี. (2555). ขบวนการคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม ค.ศ. 1945-1975. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผุสดี จันทวิมล. (2541). เวียดนามในเมืองไทย. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พวงทอง รุ่งสวัสดิทรัพย์ ภวัครพันธุ์. (2541). สงครามเวียดนาม: สงครามกับความจริงของ ‘รัฐไทย’. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

พิสิฐ อำนวยเงินตรา. (2560). การปรับตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม จังหวัดอุดรธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 13(1), 207-224.

ไพฑูรย์ ดัสเซ่. (2527). ปัญหาชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย: เอกภาพกับคอมมิวนิสต์. ศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิชชา ประสานเกลียว, สุรพล วัฒนธรรม, ปรีมาวศุต อดิศักดิ์, และ อัศนีย์ ทองนิรมล. “ชาวญวนอพยพในประเทศไทย,” (2521). ใน ชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย. ลิขิต ธีรเวคิน (บรรณาธิการ). [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]

วิชาญ จำปีศรี. (2516). ญวนอพยพกับความมั่นคงของชาติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศริญญา สุขรี. (2557). การขยายบทบาททางเศรษฐกิจของ “ชาวเวียดนามอพยพ” ในเขตเทศบาลนครพนม ตั้งแต่ พ.ศ. 2488 ถึง 2553. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัษฎาวุธ วสนาท. (2558). ปัญหาของการได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิด: กรณีศึกษาชาวเวียดนามอพยพ ชั้นบุตรและชั้นหลาน. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 8(3), 89-106.

Amrith, S. (2011). Migration and Diaspora in Modern Asia. Cambridge University Press.

Goscha, C. E. (1999). Thailand and the Southeast Asian Networks of the Vietnamese Revolution, 1885 – 1954. Curzon Press.

Stein, B. (1979). Occupational Adjustment of Refugees: The Vietnamese in the United States. The International Migration Review, 13(1), 25-45.

ເຈິນ ວັ່ນ ກວີ. (2000). ຄວາມສຳພັນປະຫວັດສາດ ລາວ - ຫວຽດ ຈາກເອກະສານກຸ່ຍເຫີບ (ສະຕະວັດທີ່ XVII - XIX ). ດາວວິໄລ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-09-2022