ปัญหาการฟังภาษาอังกฤษและความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนนายเรืออากาศ ชั้นปีที่ 2 โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

ผู้แต่ง

  • กัญญาเลข ฟูตระกูล โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

คำสำคัญ:

ปัญหาการฟังภาษาอังกฤษ, ความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษ, สาเหตุของปัญหาการฟังภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการฟังภาษาอังกฤษและ 2) ศึกษาความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนนายเรืออากาศ ชั้นปีที่ 2 เปรียบเทียบ 7 สาขาวิชา โดยประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนนายเรืออากาศ ชั้นปีที่ 2 โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 รายวิชาภาษาอังกฤษในที่ทำงาน (มศ 201) จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ TOEIC Listening Mock Test และแบบสำรวจปัญหาการฟังภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)

     ผลวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับบทฟังภาษาอังกฤษมากที่สุด โดยสาเหตุหลัก คือ อัตราความเร็วของบทที่ฟัง (เมื่อเจ้าของภาษาพูดในอัตราที่เร็วเกินไป) เนื่องจากไม่คุ้นชินกับคำศัพท์ที่ได้ยิน 2) นักเรียนมีระดับความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษที่หลากหลายเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน CEFR อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนนายเรืออากาศ ชั้นปีที่ 2 ที่เรียนในสาขาวิชาที่แตกต่างกันนั้นมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนใหญ่มีระดับความสามารถเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน CEFR อยู่ที่ระดับ B1 กล่าวคือ สามารถฟังบทฟังที่ผู้พูดพูดช้าและชัด สามารถฟังบทสนทนาที่มีคำศัพท์ในชีวิตประจำวันพื้นฐานเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว การซื้อขาย เหตุการณ์ในข่าว ซึ่งประโยคที่ฟังเข้าใจนั้นมักจะไม่ยาวและไม่มีคำศัพท์ซับซ้อน

References

กัญญาเลข ฟูตระกูล. (2565). การใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Jigsaw Listening ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์อภิปัญญาผ่านระบบออนไลน์ เพื่อแก้ปัญหาการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ: กรณีศึกษานักเรียนนายเรืออากาศ ชั้นปีที่ 2 โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช.

วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 11(1), 49-61. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SocialJournal2rmutto/article/view/256860/174964

กัลยา วานิชย์บัญชา และ ฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 27). สามลดา.

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐาน ภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ บวรวัฒนเศรษฐ์. (2563). การศึกษาสภาพการเรียนรู้นอกชั้นเรียน ปัจจัยที่มีอิทธิพลและความสามารถในการฟัง ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 4. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 7(1), 37-50. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/240686/164482

ชายุดา จันทะปิดตา. (2555). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุษยะมาส ทรรทรานนท์ และ จิดาภา ธรรมวิหาร. (2551). การศึกษาความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 6(1), 174–181.

ปิยธิดา สุปัตติ. (2562). ปัญหาการฟังภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองม่วง จังหวัดระยอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. คณะมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/57920665.pdf

โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช. (2560). “รายงานผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ผู้สำเร็จการศึกษาจาก รร.นนก. รุ่น 59-60”. แผนกกรรมวิธีข้อมูลกองสถิติและประเมินผล กรุงเทพฯ. อัดสำเนา.

สมพร โกมารทัต. (2564). การศึกษาความคาดหวังเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างบัณฑิต 4.0. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 8(1), 39-49. https://so01.tci- thaijo.org/index.php/CRMA_HUSO/article/view/246794/168072

Alzamil, J. (2021). Listening Skills: Important but Difficult to Learn. Arab World English Journal (AWEJ), 12, 366-374. https://dx.doi.org/10.24093/awej/vol12no3.25

Anandapong, S. (2011). A study of English listening problems and listening proficiency of business students at Bangkok University [Research Paper of Master of Arts]. Thammasat University.

Bacon, S. M. (1989). ‘Listening for real in the foreign language classroom’. Foreign Language Annals, 22(6), 43–51.

Bloomfield, A., Wayland, S. C., Rhoades, E., Blodgett, A., Linck, J., & Ross, S. (2010). What makes listening difficult. Factors affecting second language listening comprehension. University of Maryland. https://doi.org/10.21236/ada550176?sid=semanticscholar

Cook, V. (1993). Linguistics and Second Language Acquisition. Macmillan, Basingstone.

Council of Europe. (2022, September 2). Common European framework of reference for languages: Learning, teaching, assessment (CEFR). https://www.coe.int/en/web/common-european-framework-reference-languages

Hamouda, A. (2013). An Investigation of Listening Comprehension Problems Encountered by Saudi Students in the EL Listening Classroom. International Journal of Academic Research in Progressive Education and Development, 2(2), 113-155. https://www.semanticscholar.org/paper/An-Investigation-of-Listening-Comprehension-by-in- Hamouda/b811984d6e30068a62a970b1f75b2e701e0b159e

Hinkel, E., (2011). Handbook of Research in Second language teaching and learning (1st ed.). Routledge.

Juan, W. X., & Abidin, M. J. Z. (2013). English listening comprehension problems of students from China learning English in Malaysia. Language In India, 13(4), 367-404.

Nualsri & Underwood. (2012). The Problems with the English Listening and Speaking of Students Studying at a Private Vocational School [Research Paper of M.A. Graduate School]. Srinakharinwirot University.

Papol R., Boonsue W., Nakcharoen J., Sriratanaban S., Silachai N., & Khamsri T. (2020). The analysis of listening and reading problems in taking TOEIC of English Major students, Faculty of humanities and social science, Chiang Mai Rajabhat university. Journal of Buddhist Education and Research, 6(2), 239–251. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/245805

Promhiran. A. (2008). A study of English listening comprehension problems of Thai teachers at Kaset International Program [Master’s thesis]. Thammasat University.

Rost, M. (2002). Teaching and researching listening. Longman.

Tran, T., Q., & Duong, T., M. (2020). Insight into listening comprehension problems: A case study in Vietnam. PASAA, 59, 77-100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-09-2022