ความต้องการและความคาดหวังของชุมชนที่อยู่โดยรอบ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ณ พื้นที่ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • เอมรัตน์ ยิ่งพิสุทธิ์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
  • อนุรักษ์ โชติดิลก โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
  • ศรีวรรณ อุดมโภชน์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
  • อัคพงษ์ สิทธิวงศ์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

คำสำคัญ:

ความต้องการของชุมชน, ความคาดหวังของชุมชน, โรงเรียนนายเรืออากาศนวมิทกษัตริยาธิราช, ชุมชน, มวกเหล็ก

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการและความคาดหวังของคนในชุมชน 2) เปรียบเทียบความต้องการและความคาดหวังของคนในชุมชนที่มีต่อโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี จำแนกตามกลุ่มลักษณะงานและกลุ่มอายุ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ได้ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม 232 คน และจากการสัมภาษณ์กลุ่ม 45 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธี LSD

     ผลการศึกษาพบว่า 1) ความต้องการของคนในชุมชนโดยรวมในทุกด้าน ได้แก่ ความต้องการขั้นพื้นฐาน ความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการด้านมิตรสัมพันธ์และการยอมรับ ความต้องการบริการวิชาการและวิชาชีพ อยู่ในระดับมากที่สุด และร้อยละ 47.80 มีความคาดหวังว่า ความต้องการนั้นมีโอกาสสำเร็จ 2) เมื่อเปรียบเทียบความต้องการและความคาดหวังของคนในชุมชน พบว่า คนในชุมชนทุกกลุ่มลักษณะงานมีความต้องการทุกด้านไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มอายุมากกว่า 26 ปี มีความต้องการขั้นพื้นฐานมากที่สุด และกลุ่มอายุเกิน 40 ปี มีความต้องการด้านมิตรสัมพันธ์และการยอมรับมากที่สุด ด้านความมั่นคงปลอดภัยของชุมชน และด้านการบริการวิชาการและวิชาชีพ พบว่า ทุกกลุ่มอายุมีความต้องการไม่แตกต่างกัน และความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังของคนในชุมชนที่มีต่อโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช พบว่า กลุ่มลักษณะงานที่แตกต่างกันไม่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังของคนในชุมชน และกลุ่มอายุที่แตกต่างกันไม่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังของคนในชุมชนเช่นเดียวกัน

References

กองทัพอากาศ. (2561). ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ฉบับเผยแพร่. กองทัพอากาศ.

ชาญวิทย์ อรรถธีระพงษ์. (2561). ภาพลักษณ์ของกองทัพบกในทัศนคติของประชาชน. (รายงานการวิจัย) วิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร.

ชุติมา เมฆวัน. (2556). การศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนรอบมหาวิทยาลัยอย่างสมดุล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 5(2), 1-16.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal สาขาสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560(2), 1353-1385.

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 57ก. หน้า 65.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2549). ความคาดหวังของชุมชนที่มีต่อการบริการทางวิชาการและวิชาชีพของมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2560). มนุษยสัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรรณวิษา หนูมา. (2559). ความคาดหวังในคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการรีสอร์ทเพื่อสุขภาพของบุคคลวัยทำงาน ในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพร พูลหวัง. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนเครือข่ายกลุ่มปิ่นมาลาจังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ปีการศึกษา 2558 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมปอง สุวรรณภูมา. (2559). ความต้องการและความคาดหวังของชุมชนท้องถิ่นเกี่ยวกับการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. [งานวิจัยทุนอุดหนุนจากงบประมาณรายได้ปีงบประมาณ 2557]. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

Bringle, R. G. & Hatcher, J. A. (2002). Campus-Community Partnerships: The Terms of Engagement. Journal of Social Issues, 58(3), 503-516. https://digitalcommons.unomaha.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1018&context=slcepartnerships

Dober, R. P. (1963). Campus Planning. John Wiley & Sons.

Jongbloed, B., Enders, J. & Salerno, C. (2008, April 18). Higher education and its communities: interconnections, interdependencies, and a research agenda. https://link.springer.com/article/10.1007/s10734-008-9128-2

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-09-2022