การศึกษาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ผู้แต่ง

  • ฐนัส มานุวงศ์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • วราพร ทองจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต , สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา , โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

บทคัดย่อ

     งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา และ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรฯ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยใช้งานของกองทัพบก ซึ่งใช้แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรและใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสัมภาษณ์เชิงกลุ่ม จากผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พร้อมทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนการสัมมนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาของหลักสูตร และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูล

     ผลการวิจัยในส่วนของข้อมูลพื้นฐานเพื่อพิจารณาปรับปรุงหลักสูตร พบว่า 1) การปฏิบัติตามกรอบภารกิจของกองทัพบก ปัจจุบันมีบทบาทหน้าที่เปลี่ยนไปตามพลวัตทางสังคม หน่วยใช้มีความต้องการนายทหารสัญญาบัตร (หลัก) ที่มีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับภารกิจ สามารถพัฒนาตนเองตามบริบททางสังคมและค่าครองชีพได้ 2) หลักสูตรฯ ต้องไม่มุ่งเพียงเฉพาะเนื้อหา หากต้องมีกิจกรรมการเรียนรู้ในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ตามสถานการณ์จริง 3) หลักสูตรฯ ต้องมีการปรับเปลี่ยนสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อสร้างกระบวนทัศน์การพัฒนา ทั้งนี้ ในส่วนของแนวทางการพัฒนาหลักสูตร พบว่า ควรมีการปรับปรุงตามองค์ประกอบของหลักสูตรทุกด้าน โดยการพิจารณาใช้ผลการวิจัยในส่วนแรกเป็นกรอบในการพัฒนา เพื่อสร้างและฝึกฝนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะการบูรณาการองค์ความรู้ตามสหวิทยาการที่ทันสมัยเชื่อมโยงกับกระบวนทัศน์ในการพัฒนา การมีคุณธรรม จริยธรรม และภารกิจทางทหารอย่างเป็นรูปธรรม

References

กองทัพบก. (2565, 20 กรกฎาคม). ภารกิจและภารกิจกองทัพบก. https://rta.mi.th/

ดนุลดา จามจุรี. (2563). การออกแบบการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน Gen Z. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 8). แอคทีฟ พรินท์.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2563). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนันยา สายชู. (2563). การวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรในประเทศไทย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2564). การพัฒนาหลักสูตร: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิทวัส รุ่งเรืองผล, กฤษฎารัตน์ วัฒนสุวรรณ, และสุรัตน์ ทีรฆาภิบาล. (2562). การพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการสอนเพื่อสร้างนักการตลาดสู่ประเทศไทย 4.0. สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ. (2565). โครงการวิจัย “การออกแบบระบบการศึกษาทางทหารของไทยใหม่เพื่อการผลิตทหารอาชีพและปฏิรูปกองทัพ”. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565, 20 กรกฎาคม). ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง. http://nscr.nesdc.go.th/ns

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565, 20 กรกฎาคม). แนวทางจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 2 21st Century Skills. https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2016/09/20160908101755_51855.pdf

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. Harcourt Brace Jovanovich.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-09-2022