การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในสภาวะวิกฤตช่วงสถานการณ์โควิด 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

ผู้แต่ง

  • พลอยบุษรา บุญญาพิทักษ์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

คำสำคัญ:

การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ , สภาวะวิกฤต , โควิด 2019

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชในภาวะวิกฤตช่วงสถานการณ์โควิด 2019 (COVID-19) โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการรับมือกับสภาวะวิกฤต เพื่อลดผลกระทบจากการหยุดชะงักในการดำเนินงานหรือการให้บริการในภาวะวิกฤตช่วงสถานการณ์โควิด 2019 ที่เกิดขึ้น โดยองค์กรจะต้องกำหนดกลยุทธ์และแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ หากองค์กรไม่มีกระบวนการรองรับการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการต่อผู้รับบริการ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การเงิน สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สิน

ดังนั้น โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และหน่วยขึ้นตรงของกองทัพอากาศต้องดำเนินการทบทวนและปรับปรุงแผนการดำเนินงานให้เป็นปัจจุบัน โดยใช้แนวทางบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากล BS25999 ที่ได้รับการใช้อย่างแพร่หลาย มี 6 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 1) การบริหารโครงการจัดการความต่อเนื่อง 2) การศึกษาและทำความเข้าใจองค์กร 3) การกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความต่อเนื่อง 4) การพัฒนาและเตรียมการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉิน 5) การทดสอบ ปรับปรุง และทบทวนแผน 6) การปลูกฝัง BCM ให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นต้นแบบของการพัฒนาไปสู่มาตรฐาน ISO 22301 : 2012 โดยขอบเขตวิธีการบริหารจัดการและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของแต่ละหน่วยขึ้นตรงของกองทัพอากาศ อาจแตกต่างกันไปตามขนาด ประเภทภารกิจ และทรัพยากรที่ใช้งาน ผนวกกับการนำระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) รวมทั้งระบบดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งเป็นจุดแข็งของกองทัพอากาศ

References

กรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2557). การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กองทัพอากาศไทย. (2563). ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2563. https://www.rtaf.mi.th/th/Documents/Publication/RTAF%20Strategy_Final_04122563.pdf

ณัฐ เลิศฤทธิ์. (2560). การประเมินแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในภาวะประสบอุทกภัยและสภาวะวิกฤตในเขตกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร. (2555). การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจทางธุรกิจ...ทางรอดของธุรกิจในภาวะวิกฤติ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 4(1), 68-77.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2563). คู่มือการบริหารจัดการความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต. https://www.opdc.go.th/file/reader/MHx8NDk3Nnx8ZmlsZV91cGxvYWQ

Cliff, F. (2017). Business continuity and disaster management within the public service in relation to a national development plan. Journal of Business Continuity & Emergency Planning, 11(3), 243-255.

Gibb, F. & Steven, B. (2006). A Framework for business continuity management. International Journal of Information Management, 26, 128-141.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-10-2023