การศึกษาบุคลิกภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
คำสำคัญ:
บุคลิกภาพ, คุณลักษณะที่พึงประสงค์ , นักเรียนนายร้อยบทคัดย่อ
บุคลิกภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิต การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบุคลิกภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนนายร้อย และ 2) เปรียบเทียบบุคลิกภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนนายร้อย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักเรียนนายร้อยบังคับบัญชา จำนวน 17 นาย โดยการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนนายร้อย ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 142 นาย ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ ใบงานกิจกรรมระดมความคิดเห็น วิเคราะห์ผลส่วนนี้โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และแบบวัดบุคลิกภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลิกภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนนายร้อยอยู่ในระดับสูง 2) ผลการเปรียบเทียบตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักเรียนที่มีเหตุผลในการเลือกเข้ามาเป็นนักเรียนนายร้อย และมีความภาคภูมิใจในการเป็นนักเรียนนายร้อยที่แตกต่างกัน มีบุคลิกภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนนายร้อยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนลักษณะการอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน ทำให้บุคลิกภาพฯ ของนักเรียนนายร้อยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ การรับรู้ต่อการเป็นนักเรียนทหารที่แตกต่างกันไม่ส่งผลให้บุคลิกภาพฯ ของนักเรียนนายร้อยแตกต่างกัน
References
กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า [กรม นนร.รอ.รร.จปร.]. (2565). คู่มือนักเรียนนายร้อย พ.ศ. 2565. อรุณการพิมพ์.
คำสั่งกองทัพบก เรื่อง นโยบายการฝึกอบรมและการศึกษาของกองทัพบก พ.ศ. 2565. (2564, 14 ตุลาคม). คำสั่งกองทัพบก. ที่ 66/2564. หน้า 12.
ชนินทร์ แก้วบุญเรือง. (2561). การศึกษาการคิดสะท้อนความภาคภูมิใจในท้องถิ่น ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบางหัวเสือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดุลยา จิตตะยโศธร. (2552). รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู: แนวคิดของ Diana Baumrind. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 173-187.
ต้องรัก จิตรบรรเทา. (2561). จิตวิทยาบุคลิกภาพ Personality Psychology. สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ธัญญภัสร์ ศิรธัชนราโรจน์, สกล วรเจริญศรี และ ปริญญา มีสุข. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ของความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 715-732.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
ปดิวรัดา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และ ฐิตวีร์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2564). การพัฒนาบุคลิกภาพผู้นํานักนิเทศศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(2), 13-28.
รุ่งอรุณ วัฒยากร. (2565). คุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 9(1), 95-109.
รุ่งอรุณ วัฒยากร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลและแนวทางการส่งเสริมการปรับตัวของนักเรียนนายร้อยใหม่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 5(1), 209-242.
รุ่งอรุณ วัฒยากร. (2557). การศึกษาภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนนายร้อย ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 1(1), 67-90.
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า [รร.จปร.]. (2565). รายงานการประเมินตนเองประจำปี 2564. โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.
วรวุฒิ แสงทอง และ วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2561). การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะผู้นำของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 8(3), 251-263.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2561). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 15). หมอชาวบ้าน.
อัจฉริยา สุรวรเชษฐ. (2560). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Adler, A. (2013). The Practice and Theory of Individual Psychology. Routledge. https://doi.org/10.4324/9781315010120
Allport, G. W. (1961). Pattern and growth in personality. Holt, Rinehart & Winston.
Branden, N. (1966). The Psychology of self-esteem (3rd ed.). Bantam Books.
Coopersmith, S. (1981). SEI: Self-Esteem Inventories. Consulting Psychology Press.
Holland, J. L. (1973). Making Vocational Choice: A Theory of Career. Prentice-Hall.
Roger, C. R. (1957). SEI: Counseling and psychology. The Riverside Press.
Schiffman, L. G. & Kanuk, L. (2010). Consumer Behavior (10th ed.). Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี
บทความและข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อนเท่านั้น และบทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องไม่ปรากฎในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนที่จะปรากฎในวารสารนี้ กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ