ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนทวีธาภิเศก ตามแนวคิดสมรรถนะการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียน

ผู้แต่ง

  • ชมภูนุช จันทร์แสง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นันทรัตน์ เจริญกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น , การบริหารวิชาการ , สมรรถนะการเรียนรู้แบบนำตนเอง , โรงเรียนทวีธาภิเศก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนทวีธาภิเศกตามแนวคิดสมรรถนะการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียน โดยผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนทวีธาภิเศก จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)  

ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนทวีธาภิเศกตามแนวคิดสมรรถนะการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียน ประกอบด้วย 1) ความตระหนักในตนเอง และความมีอิสระในการเรียนรู้ 2) ความสามารถในการวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) ความสามารถในการแสวงหา และจัดการความรู้ 4) ความสามารถในการประเมินกระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 5) การมีทักษะการคิด มีสภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นสูงสุดในการพัฒนา คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมาคือด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการพัฒนาการบริหารวิชาการให้นักเรียนมีสมรรถนะการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อให้นักเรียนสามารถปรับตัว และปรับวิธีการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และความต้องการของสังคมในปัจจุบันและโลกอนาคตได้

References

จามจุรี จำเมือง. (2552). คู่มือเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา. เจริญดีมั่นคง.

ชณวรรต ศรีลาคำ และ พัฒนา สอดทรัพย์. (2562). The Direction of Self –directed learning as based on The Thailand 4.0 Policy ทิศทางการเรียนรู้ด้วยตนเองตามนโยบายประเทศไทย 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง มกราคม-มิถุนายน 2562, 8(1), 49-62.

เตือนใจ โพธิ์สุ. (2557). การเรียนรู้ด้วยตนเอง. http://phosu2506.blogspot.com/2014/12/normal-0-false-false-false-en-us-x-none.html

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรา นิคมานนท์. (2543). การประเมินผลการเรียน. ทิพยวิสุทธิ.

โรงเรียนทวีธาภิเศก. (2565). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2564. กรุงเทพ: โรงเรียนทวีธาภิเศก.

วลีรัตน์ ฉิมน้อย. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ 21 [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2561). ขอบฟ้าใหม่แห่งการเรียนรู้สู่การสร้างสรรค์อนาคต. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพร หลิมเจริญ. (2552). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 2 [ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สรัลพร ถนัดรอบ. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 8(1), 25-38.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลล์ แล็บ. (2565). อนาคตของการเรียนรู้. http://online.anyflip.com/fuvvc/utuw/mobile/ index.html

หทัยชนก กูรมะสุวรรณ. (2562). ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนโพธิสารพิทยากร ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 15(2), 2-12.

Arylides, Y., & Tarhan, L. (2015). Development of the self-directed learning skills scale. International Journal of Lifelong Education, 34(6), 663-679.

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. (2017). Personalized Learning: Training Tools for Curriculum Development. https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000250420_eng

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-10-2023