แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ SMART ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก

ผู้แต่ง

  • สรเชษฐ ดีเอื้อ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

สมรรถนะหลัก , สมรรถนะ SMART , โรงเรียนนายสิบทหารบก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะ SMART ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลระหว่างสมรรถนะหลักกับสมรรถนะ SMART ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะ SMART ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและตามด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ข้าราชการทหารที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนนายสิบทหารบก จำนวน 130 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการถดถอยพหุคูณ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้บังคับบัญชาในโรงเรียนนายสิบทหารบก จำนวน 8 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะส่วนบุคคล คือ อายุและเวลารับราชการ มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะ SMART ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) สมรรถนะหลักด้านความรู้ ลักษณะนิสัย แรงจูงใจ และทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับสมรรถนะ SMART ในการปฏิบัติงานของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ SMART ของกำลังพลโรงเรียนนายสิบทหารบก พบว่า โรงเรียนนายสิบทหารบกควรพัฒนาและส่งเสริมกำลังพลอย่างต่อเนื่องในด้านความเสียสละ ด้านมีคุณธรรม ด้านดำรงความถูกต้องพร้อมรับผิด ด้านมุ่งมั่นในผลสัมฤทธิ์ และด้านร่วมคิดทำงานเป็นทีม เพื่อให้สมรรถนะ SMART ของกำลังพลอยู่ในระดับสูงต่อไป

References

ดิสพงศ์ จันทร์นิล. (2561). การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ธนะชัย เขียวจันทึก. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักเรียนนายสิบทหารบก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธวัช เนียมสิน. (2560). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธร จังหวัดเพชรบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ธวัชชัย ผลสะอาด. (2559). กำลังพลสำรองกองร้อยที่ 1 กองพันทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ค่ายพรหมโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระบบการเกณฑ์ทหารและการรับราชการทหารโดยสมัครใจ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นักศึกษาหลักสูตรหลักประจำวิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 61. (2559). ยุทธศาสตร์กองทัพบก 20 ปี พ.ศ. 2560-2579. อรุณการพิมพ์.

พงศธร เมืองแก่น. (2562). นักรบที่สง่างามนำพากองทัพเข้มแข็ง (SMART SOLDIERS STRONG ARMY). [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. วิทยาลัยการทัพบก.

ภาณุพงศ์ สุวัณณุสส์. (2551). ตัวแบบสมรรถนะหลักของผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ภาณุมาศ เวหาด. (2559). สมรรถนะหลักกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานด้านงานข่าวของข้าราชการทหาร สังกัดกอง 6 ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก.

มานัสชัย ศรีประจันทร์. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะกำลังพลกองทัพบก. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ศุภชัย หวั่นวดี. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ SMART ของกำลังพลในกองบิน 5 กองทัพอากาศ ในยุค 4.0. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

Green, S.B. (1991). How many subjects does it take to do a regression analysis?. Multivariate Behavioural Research, 26(3), 499-510.

McClelland, D.C. (1973). Testing for competence rather than intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.

McClelland, D.C. (1998). Identifying competencies with behavioral event interviews. Psychological Science, 9(5), 331-339.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-10-2023