การศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนนายร้อยในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
คำสำคัญ:
กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล , พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ , ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนนายร้อยในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมของนักเรียนนายร้อยในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จำแนกตามปีและกลุ่มสาขาวิชา และ 3) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จำแนกตามปีและกลุ่มวิชา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 2-5 จำนวน 288 นาย ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนนายร้อยมีพฤติกรรมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เพื่อการติดต่อสื่อสารในระดับมากที่สุด 2) นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ต่างกันและกลุ่มสาขาวิชาที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ไม่แตกต่างกัน และ 3) นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ต่างกันและกลุ่มสาขาวิชาต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ไม่แตกต่างกัน
References
กมลชนก วงศ์สวัสดิ์ และ วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2563). งานวิจัยเรื่อง การศึกษาความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จันจิรา ขวัญแก้ว. (2561). งานวิจัยเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จักราวุธ คงอินทร์, จารุเดช สระแก้ว, สฤษดิ์ การกูลกิจ, ศุภกฤต ชูยัง, และ ธิติวัฒน์ มานะชัยทรัพย์. (2560). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนนายร้อย (Cadets’ Social Network Usage Behaviors). โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). รูปแบบการควบคุมวิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประมา ศาสตรารุจิ. (2565). รูปแบบการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรองรับการดำเนินชีวิตในภาวะวิกฤติ. วารสารศิลปการจัดการ, 6(2), 679.
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562. (2562, 27 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 69 ก. หน้า 52-95.
พิชญาวี คณะผล. (2553). งานวิจัยเรื่อง การศึกษาทัศนคติการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์กรณีศึกษา: นักศึกษาและบุคลากรวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จ.เพชรบูรณ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
PDPA คืออะไร? เกี่ยวข้องกับทุกคนอย่างไร. (2564, 24 พฤษาคม). t-reg.co. https://t-reg.co/blog/t-reg-knowledge/what-is-pdpa/
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology.
Yamane, T. (1973). Statistics: an Introductory Analysis. Harper & Row
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี
บทความและข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อนเท่านั้น และบทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องไม่ปรากฎในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนที่จะปรากฎในวารสารนี้ กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ