แนวทางการพัฒนากิจกรรมจิตอาสาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ผู้แต่ง

  • สาธนี แก้วสืบ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • กนกรัตน์ พงษ์โพธากุล คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, กิจกรรมจิตอาสา, ผลสัมฤทธิ์, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมจิตอาสา 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้นของกิจกรรมจิตอาสา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมจิตอาสาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ข้าราชการ นักเรียนนายร้อย และประชาชนในพื้นที่โดยรอบ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมจิตอาสาโดยรวมคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านความพึงพอใจ และด้านประสิทธิภาพ สำหรับปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นของกิจกรรมจิตอาสา พบว่า ด้านประสิทธิภาพ คือ จำนวนบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ  มีไม่เพียงพอ ด้านความพึงพอใจ ผู้ให้ข้อมูลหลักบางกลุ่มเห็นว่า เป็นการบังคับให้เข้าร่วมกิจกรรมและเป็นการเพิ่มภาระงาน ด้านการมีส่วนร่วม คือ ขาดการประสานงานที่ดีกับผู้นำชุมชนในพื้นที่ ดังนั้น แนวทางการพัฒนากิจกรรมจิตอาสา ในด้านประสิทธิภาพ ควรมีการจัดสรรบุคลากร เวลา สถานที่ จัดหางบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอและเหมาะสม ด้านความพึงพอใจ ควรมีการขยายพื้นที่ให้มากขึ้น เพิ่มเติมรูปแบบของกิจกรรมจิตอาสา และด้านการมีส่วนร่วม ควรมีการปลูกฝังการเป็นจิตอาสาเพิ่มขึ้น รวมถึงจัดให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม

References

กรมกิจการพลเรือนทหารบก. (2561). คำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ 1697/1 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 เรื่อง ศูนย์ประสานงานและสนับสนุนโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริของกองทัพบก.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จตุพร จันทร์เพชร. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทั้งภายนอกและภายใน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

จิราพร กำจัดทุกข์. (2552). ความพึงพอใจหลังการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชัยวัฒน์ เอี่ยมประภาส. (2561). ผลสัมฤทธิ์ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุของเทศบาลในภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารราชนครินทร์, 15(34), 39-51.

บุษรา มุ้ยอิ้ง. (2560). สัมฤทธิ์ผลของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดกาญจนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ประยูร ศรีประสาธน์. (2542). ปัจจัยส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะกรรมการการศึกษาประจำ โรงเรียนประถมศึกษา. [รายงานวิจัย]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มณี โพธิเสน. (2543). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนโพธิเสนวิทยา อําเภอท่าบ่อ จังหวดหนองคาย. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มงคล จันทร์ส่อง. (2544). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เมตต์ เมตต์การุณจิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). บุ๊คพอยท์.

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กองยุทธการและการข่าว. (2565). หนังสือที่ กห. 0406.1.3/3469 ลงวันที่ 5 กันยายน 2565 เรื่อง แผนปฏิบัติราชการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีการศึกษา 2565.

สัญญา เคณาภูมิ. (2551). ความสำเร็จของวิสาหกิจใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สิทธิโชค วรานุสันติกูล (2549). จิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ไอลดา แถวโพธิ์. (2563). การประเมินโครงการ : โครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดไร่ขิง (สุนทรอุทิศ). [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-08-2024