การศึกษาข้อบกพร่องของการใช้ภาษาไทยในการเขียนหนังสือราชการ : กรณีศึกษา ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปี 2565

ผู้แต่ง

  • สาริศา เขี้ยวงา ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

คำสำคัญ:

ข้อบกพร่อง, การใช้ภาษาไทย, หนังสือราชการ

บทคัดย่อ

          การศึกษาข้อบกพร่องของการใช้ภาษาไทยในการเขียนหนังสือราชการ : กรณีศึกษา ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปี 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อบกพร่องของการใช้ภาษาไทยในการเขียนหนังสือราชการของส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ด้านการใช้คำ การใช้ประโยค และรูปแบบการเขียน ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยหนังสือราชการที่ปรากฏในระบบเวียนทราบ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยการสุ่มเลือก จำนวน 120 ฉบับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ผลการวิจัยพบข้อบกพร่องของการใช้ภาษาไทยในการเขียนหนังสือราชการทั้งสิ้น 3 ด้าน ได้แก่ การใช้คำ การใช้ประโยค และรูปแบบการเขียน  ด้านการใช้คำพบข้อบกพร่องจำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การใช้คำไม่ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาไทย และการใช้ภาษาไม่เหมาะสม  ด้านการใช้ประโยคพบข้อบกพร่องจำแนกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การเรียงประโยคผิดหลักภาษา การใช้ประโยคที่ไม่สมบูรณ์ การผูกประโยคที่ใช้คำซ้ำกันอยู่ใกล้ชิดกัน และประโยคไม่กระชับและไม่สละสลวย ด้านรูปแบบการเขียนพบข้อบกพร่องจำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนไม่ถูกต้อง และการเว้นวรรคไม่ถูกต้อง

References

กรมวิชาการ. (2532). หนังสือเรียนภาษาไทย ชุดทักษะพัฒนา เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 8). คุรุสภาลาดพร้าว.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และ อารียา หุตินทะ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชูศรี ศรีแก้ว. (2527). การศึกษาเปรียบเทียบข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2525 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐวรรณ ชั่งใจ. (2560). ข้อบกพร่องของการใช้ภาษาเขียนตอบอัตนัยของนักศึกษา วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนู ทดแทนคุณ. (2556). การเขียนสำหรับข้าราชการไทย. โอเดียนสโตร์.

นภดล จันทร์เพ็ญ. (2539). การใช้ภาษาไทย. ต้นอ้อแกรมมี่.

ประสิทธิ์ กาพย์กลอน. (2516). การศึกษาภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์. ไทยวัฒนาพานิช.

ปิยนิตย์ เปี่ยมงาม, ผกาวดี ปิกมา, และประสิทธิ์ ชัยเสนา. (2544). การศึกษาลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพิษณุโลก ปีการศึกษา 2544. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพิษณุโลก.

เปลื้อง ณ นคร. (2514). คำบรรยายวิชาการประพันธ์และหนังสือพิมพ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). ไทยวัฒนาพานิช.

ผะอบ โปษกฤษณะ. (2544). ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). รวมสาส์น.

พนมพร นิรัญทวี และ เทพี จรัสจรุงเกียรติ. (2538). การใช้ภาษาไทย 1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2551). หลักการใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 7). อรุณการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชันส์.

ลดาวัลย์ ศรีวงษ์. (2543). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยรังสิต.

วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2557). การเขียนเพื่อการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนิท ตั้งทวี. (2528). ความรู้และทักษะทางภาษา. โอเดียนสโตร์.

สริตา ปัจจุสานนท์ และ กรฎา สุขุม. (2561). ข้อบกพร่องของการเขียนงานวิชาการของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สายใจ ทองเนียม และ สุกัลยา อำพิน. (2537). การใช้ภาษาไทยเพื่อการอาชีพ 1. เอมพันธุ์.

สุจริต เพียรชอบ. (2539). สอนเขียนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในชุดความรู้ ภาษาไทยสอนให้สนุกเป็นสุขกับการเรียน. คุรุสภา.

สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2522). การเขียน. ไทยวัฒนาพานิช.

สุพรรณ อุดมโชค. (2527). การใช้ภาษาไทยทางธุรกิจ. พิทักษ์อักษร.

เสนีย์ วิลาวรรณ. (2529). แบบฝึกหัดหลักภาษาไทย. ไทยวัฒนาพานิช.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2541). หลักภาษาไทย. ไทยวัฒนาพานิช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-08-2024