แนวทางการดำเนินงานตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ณัฐสินี ศรีนครชัยเจริญ บัณทิตวิทยาลัย มหาวิททยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ปองสิน วิเศษศิริ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ , มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินงานในปัจจุบัน 2) แนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ตามมาตรการของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ข้าราชการครู จำนวน 103 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพดำเนินงาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติตามมาตรการอยู่ในระดับมากทุกมาตรการ แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายมาตรการ พบว่า มาตรการที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่ที่ตอบสนองบริบทความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียน รองลงมา คือ การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และสุขภาวะที่ดีของผู้เรียนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต  2) แนวทางที่เหมาะสม พบว่า มีมาตรการที่ต้องทำการพัฒนาการดำเนินงานอย่างเร่งด่วน 3 มาตรการ ก่อนที่จะจัดการกับมาตรการที่เหลือ คือ 1. การจัด สวัสดิการความปลอดภัย และการสร้างขวัญและกำลังใจ โดยควรขจัดความกังวลใจของครูในการออกไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทุกรูปแบบ และจัดและสร้างความเข้าใจในเรื่องสวัสดิการให้ได้อย่างเหมาะสม  2. การพัฒนาคลังสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้แบบเปิดและการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา โดยควรส่งเสริมการจัดงบประมาณ อุปกรณ์ และการเสริมความรู้ให้ครูผลิตสื่อดิจิทัล และเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าใช้คลังสื่อนี้ได้ง่ายอย่างทั่วถึง และ 3. การเสริมพลังพัฒนาครูและผู้บริหารการศึกษา โดยควรกำหนดนโยบายในการเสริมพลังครูและจัดงบประมาณสำหรับการยกระดับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). รายงานการศึกษาแนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). นโยบายและจุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2565, 2 มิถุนายน). คุณภาพชีวิตและสังคม: เมื่อเด็กยุคโควิดเผชิญภาวะ "การเรียนรู้ถดถอย" รัฐต้องแก้อย่างไร?. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/social/1007890

ธานินทร์ อินทรวิเศษ. (2562). ศึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(6), 491.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570). สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

พสชนัน นิรมิตไชยนนท์ และ กมลพร สอนศรี. (2560). รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาในประเทศไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 1694.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. เอส.บี.เค. การพิมพ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานตัวชี้วัด ITU (International Telecommunication Union) 2561 (ไตรมาส 4). สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Asian Development Bank. (2021). Learning and earning losses from COVID-19 school closures in developing Asia. Special Topic of the Asians Development Outlook 2021. Asian Development Bank.

Azim Premji Foundation. (2021). Loss of learning during the pandemic. Azim Premji University. https://azimpremjiuniversity.edu.in/publications/2021/report/learning-loss-during-pandemic

Blasko, Z., Costa, P., & Schnepf, V., S. (2021). Learning loss and educational inequalities in Europe: mapping the potential consequences of the COVID-19 Crisis. In Bonn (Eds.), Discussion paper series (pp. 13-18). Deutsch Post Foundation.

Cho, Y., Kataoka, S., & Piza, S. (2021, May 1). Philippine Basic Education System: Strengthening Effective Learning During the COVID-19 Pandemic and Beyond - Philippines COVID-19 Monitoring Survey Policy Notes. https://ph02.tcithaijo.org/index.php/jtir/article/view/244018.

Di Pietro, G., Biagi, F., Costa P., Karpinski Z., & Mazza, J. (2020, June 24). The likely impact of COVID-19 on education: Reflections based on the existing literature and Recent international datasets. JRC Technical Report. https://publications.jrc.ec.europa.eu/repository/handle/JRC121071

Econ Digest. (2564, 14 มิถุนายน). เรียนออนไลน์ ผู้ปกครอง พร้อมไหม. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Ed-Online-FB-14-06-21.aspx

Fitzpatrick, R., Korin, A., & Riggall, A. (2020, October). An International review of plans and actions for school reopening. Education Development Trust. https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED610839.pdf

Kaffenberger, M. (2021). Modeling the long–run learning impact of the COVID-19 learning shock: actions to (more than) mitigate loss. International journal of education development, 81, 102326. https://doi.org/10.1016/j.ijedudev.2020.102326

Locke, N. V., Patarapichayatham, C. & Lewis, S. (2021). Learning loss in reading and math in U.S. school due to the COVID-19 pandemic. Istation.

Raymond, M. E. (2021). Learning Losses-What to Do About Them. Stanford University.

U.S. Department of Education, Office for Civil Rights. (2021). Education in a pandemic: the disparate impacts of COVID-19 on America’s students. U.S. Department of Education.

Zierer, K. (2021). Effects of pandemic-related school closures on pupils’ performance and learning in selected countries: a rapid review. Education Sciences, 11(6), 252. https://doi.org/10.3390/educsci11060252

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-08-2024