ความต้องการจำเป็นในการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ ช่างกลขนส่งทหารบก ตามแนวคิดเป้าหมายในชีวิต

ผู้แต่ง

  • กฤช ประชาญสิทธิ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธีรภัทร กุโลภาส คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, การบริหารกิจการนักเรียน, เป้าหมายในชีวิต

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกลขนส่งทหารบก ตามแนวคิดเป้าหมายในชีวิต โดยผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกลขนส่งทหารบก จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกลขนส่งทหารบก ตามแนวคิดเป้าหมายในชีวิต ประกอบด้วย 1) งานวินัยและความประพฤตินักเรียน 2) งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) งานกิจกรรมแนะแนว ซึ่งทุกงานมีสภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นสูงสุดในการพัฒนา คือ งานกิจกรรมแนะแนว รองลงมา คือ งานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และงานวินัยและความประพฤตินักเรียน ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมงานด้านกิจกรรมการแนะแนวมากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับแนวคิดเป้าหมายในชีวิตที่จะนำไปสู่การทำงานในอนาคต

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการกระจายอำนาจการ บริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. https://backoffice.onec.go.th/uploaded/Category/Laws/RuleMetDistEdMnt2550-02-12-2010.pdf

เกียรติศักดิ์ ศรีทอง. (2557). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในอำเภอเกาะสมุย เครือข่ายสมุย 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 [ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ชญาพิมพ์ อุสาโห, สุกัญญา แช่มช้อย, นันทรัตน์ เจริญกุล, ธีรภัทร กุโลภาส, สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา, เพ็ญวรา ชูประวัติ และ พงษ์ลิขิต เพ็ชรผล. (2563). ภาวะผู้นำในการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา (ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุง). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีราภรณ์ สุ่มมาตย์. (2559). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานแนะแนวตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนวัดตะพงนอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. Burapha University Library. https://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/57920499.pdf

พนัส หันนาคินทร์. (2529). หลักการบริหารโรงเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกลขนส่งทหารบก. (2565). รายงานสถิติงานกิจการนักเรียนประจำปีการศึกษา 2565 [เอกสารข้อมูลของสถานศึกษา]. โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกลขนส่งทหารบก.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580. https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_PlanOct2018.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. https://academic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bernard, B. (1990). Youth Service: From Youth as Problems to Youth as Resources. Illinois Prevention Forum. Digitalcommons@uno University of Nebraska. https://digitalcommons.unomaha.edu/slcek12/12/

Bronk, K. C. (2016). Purpose in life: A critical component of optimal youth development. Springer. https://link.springer.com/book/10.1007/978-94-007-7491-9

Crumbaugh, J. C., & Maholick, L. T. (1964). An experimental study in existentialism: The psychometric approach to Frankl's concept of neogenic neurosis. Journal of Clinical Psychology, 20(2), 200–207. https://doi.org/10.1002/1097-4679(196404)20:2<200::AID-JCLP2270200203>3.0.CO;2-U

Durrant, J. E. (2010). Positive discipline in everyday teaching: Guidelines for educators. Save the Children. United Nation Girls’ Education Initiative (UNIGEI). https://www.ungei.org/sites/default/files/Positive-Discipline-in-Everyday-Teaching-Guidelines-for-Educators-2010-eng.pdf

Locke, E., & Latham, G. (1991). A Theory of Goal Setting & Task Performance. The Academy of Management Review, 16(2), 480-483. https://doi.org/10.2307/258875

McKnight, P., & Kashdan, T. (2009). Purpose in Life as a System That Creates and Sustains Health and Well-Being: An Integrative, Testable Theory. Review of General Psychology - REV GEN PSYCHOL, 13(3), 242–251. https://doi.org/10.1037/a0017152

Nelsen, J., Lott, L., & Glenn, H. S. (2013). Positive Discipline in the Classroom: Developing Mutual Respect, Cooperation, and Responsibility in Your Classroom (4th ed.). Harmony/Rodale.

Schluckebier, M. E. (2013). Dreams worth pursuing: How college students develop and articulate their purpose in life [Doctoral dissertation, University of Iowa]. Iowa Research Online. https://iro.uiowa.edu/esploro/outputs/doctoral/Dreams-worth-pursuing-how-college-students/9983776871502771

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-08-2024