ข่าวลือว่าด้วยแผนรวมไทย-ลาว ในทศวรรษ 2510 ระหว่างยุคสงครามเย็น

ผู้แต่ง

  • สืบสายสยาม ชูศิริ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ข่าวลือ, สงครามเย็น, แผนรวมไทย - ลาว, กลุ่มปัญญาชนไทยฝ่ายก้าวหน้า

บทคัดย่อ

         บทความนี้มุ่งศึกษาข่าวลือเรื่อง “แผนรวมไทย – ลาว” ที่เกิดขึ้นในหมู่ปัญญาชนไทยฝ่ายก้าวหน้าภายใต้บริบทของทศวรรษ 2510 ระหว่างยุคสงครามเย็นว่าเกิดจากสาเหตุใด และข่าวลือดังกล่าวมีข้อเท็จจริงและเอกสารราชการสนับสนุนมากน้อยเพียงใด ภายใต้การศึกษาผ่านระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์จากการศึกษาพบว่า ความร่วมมือทางการเมืองและทางการทหารของฝ่ายรัฐบาลไทยกับลาวฝ่ายขวา คือ การส่งทหารรับจ้างชาวไทยไปรบในลาว และรัฐบาลไทยพยายามปิดเป็นความลับ ไม่เปิดเผยสู่สาธารณชน ทำให้ข้อมูลข่าวสารคลุมเครือ ส่งผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ข่าวลือ” มากมายในช่วงเวลานี้ ข่าวเรื่องแผนรวมไทย - ลาว ในหมู่ปัญญาชนไทยฝ่ายก้าวหน้า อาจเกิดขึ้นจากสภาวะความคลุมเครือที่ว่านี้ ในส่วนข้อเท็จจริงที่ได้จากเอกสารราชการเท่าที่เปิดเผยในภายหลังพบว่า ไม่มีเรื่องการส่งทหารไทยเข้าไปในลาวเพื่อผนวกดินแดนลาวให้กลับเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยตามข่าวลือที่ว่านี้

References

กรมยุทธศึกษาทหาร. (2540). ประวัติศาสตร์การสงครามของไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง.

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2540). อารยธรรมสมัยใหม่ – ปัจจุบัน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2562). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). มติชน.

ชาติชาย พณานานนท์. (2538). สงครามเวียดนาม (ค.ศ.1946 – 1976). ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดรุณี บุญภิบาล. (2520). บทบาทของไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2561). การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

บัญชร ชวาลศิลป์. (2563). สงครามลาว สงครามลับ. แสงดาว.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2548). และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ: การเมืองและวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผู้สื่อข่าวอิสระประจำลาว. (2516). ลาวและปัญหาทหารไทยรับจ้าง. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 11(10), 46 - 61.

รงรอง วงศ์โอบอ้อม. (2562). ประวัติศาสตร์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). ทอร์ช.

วีระชัย โชคมุกดา. (2559). สงครามโลกครั้งที่ 1, 2 (ฉบับสมบูรณ์) ประวัติศาสตร์การเข่นฆ่าที่โลกต้องเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ยิปซี.

สจ๊วต-ฟอกซ์, มาร์ติน. (2553). A History of Laos [ประวัติศาสตร์ลาว]. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

สิทธิพล เครือรัฐติกาล. (2565). ประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ Modern world history (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สวัสดิ์ ซ่อนกลิ่น. (2550). บิ๊กเสือ Very Good Soldier ขุนศึกคู่ชาติและราชบัลลังก์. ปัญญาชน.

สุรพงษ์ ชัยนาม. (2559). นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านในยุคสงครามเย็น:ห้ากรณีศึกษา เปรียบเทียบนโยบายของไทยต่อลาว. ศยาม.

สืบสายสยาม ชูศิริ. (2565). นักรบที่ถูกลืม: การศึกษาทหารรับจ้างไทยในสงครามลับในลาวผ่านสารนิยายของสยุมภู ทศพล พ.ศ.2516 – 2519. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82991

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (28 พ.ย.2498 – 13 ต.ค.2499). การทำแผนฉุกเฉินร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลลาว. [เอกสารกระทรวงต่างประเทศ]. (2) กต. 16.3/48. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (17 - 24 ม.ค.2499). ความเห็นของทูต ณ เวียงจันทน์ เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายทางทหารของประเทศไทยในลาว. [เอกสารกระทรวงต่างประเทศ]. (2) กต. 16.3/55. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

อุบล จิระสวัสดิ์. (2517). สภาวะทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19151

Allport, G. W. & Postman, L. (1947). The Psychology of Rumor. Holt, Rinehart & Winston.

Gunn, G. C. (1988). Political Struggles in Laos 1930 – 1954. Editions Duangkamol.

Osornprasop, S. (2007). Amidst the Heat of the Cold War in Asia: Thailand and the American Secret War in Indochina (1960- 74). Cold War History, 7(3), 349 - 371.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-08-2024