สมรรถนะของพนักงานนวดแผนไทยเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของ สถานประกอบการนวดแผนไทยในเขตพื้นที่เทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปาง

Thai Masseurs/Masseuses’ Competency for Building the Competitive Abilities of Thai Massage Entrepreneurship in the Region of Lampang Metropolitan Municipality, Lampang Province

Authors

  • นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์

Keywords:

สมรรถนะ, พนักงานนวดแผนไทย, ความสามารถในการแข่งขัน

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลตามแบบจำลองสมการโครงสร้าง และ นำเสนอแนวทางที่เหมาะสมต่อการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานนวดแผนไทยในการสร้างความสามารถทางการแข่งขันของสถานประกอนวดแผนไทยในเขตพื้นที่เทศบาลนครลำปาง ข้อมูลจากแบบสอบถามพนักงานนวดแผนไทย 312 คนจากการเลือกสุ่มทั้งหมด 320 คน (97.50% ของกลุ่มตัวอย่าง) ถูกวิเคราะห์โดยค่าสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One-sample t-test การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ การวิเคราะห์เส้นทางโดยใช้โปรแกรม LISREL แบบ Basic Model ผลการวิจัยเป็นดังนี้ ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลตามแบบจำลองฯ เป็นไปตามข้อตกลงทางสถิติคือ Chi-square = 358.17, df = 225, P-value = 0.123, RMSEA = 0.051 สรุปได้ว่า สมรรถนะของพนักงานนวดแผนไทย ได้รับอิทธิพลทางตรงมาจากปัจจัยด้านทักษะและการปฏิบัติในระดับสูง ขณะเดียวกันได้รับอิทธิพลทางอ้อมมาจากปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ ในระดับสูง โดยส่งผ่านปัจจัยด้านความเชื่อมั่นในอาชีพและปัจจัยด้านทักษะและการปฏิบัติ และ ได้รับอิทธิพลทางอ้อมมาจากปัจจัยด้านความเชื่อมั่นในอาชีพในระดับปานกลาง โดยส่งผ่านปัจจัยด้านทักษะและการปฏิบัติของพนักงานนวดแผนไทย ปัจจัยทั้งหมดสามารถทำนายสมรรถนะของของพนักงานนวดแผนไทยได้ร้อยละ 78.10, (P<.05) และแนวทางที่เหมาะสมต่อการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานนวดแผนไทยฯ มีอยู่ 4 ประเด็นสำคัญ (5 แนวทาง) คือ การพัฒนาความรู้นวดแผนไทย (2 แนวทาง) การพัฒนากลยุทธ์ปฏิบัติการ (1 แนวทาง) การมีส่วนร่วมกิจกรรม (1 แนวทาง) และ การจัดเก็บความรู้ (1 แนวทาง)

Downloads

Published

2018-04-03

Issue

Section

บทความพิเศษ