ภาพลักษณ์ของ “จีน” ที่ปรากฏในบันทึกการเดินทางของชาวไทย ภายหลังการเปิดสัมพันธ์ทางการฑูตไทยจีน พ.ศ.2518 (ตอนที่1)-องค์ประกอบด้านโครงเรื่อง
The China Images Appeared in Travel Writings of Thai People after the Opening of Diplomatic Relation between Thailand and China in 1975 – (Chapter 1: Story Plot)
Keywords:
บันทึกการเดินทาง, อัตลักษณ์, องค์ประกอบการเล่าเรื่อง (โครงเรื่อง), สาธารณรัฐประชาชนจีน, นักเดินทางชาวไทยAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรวบรวมบันทึกการเดินทางของคนไทยที่ได้ไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ช่วงภายหลังเปิดสัมพันธ์ทางการฑูต พ.ศ. 2518 (ค.ศ.1975) เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นกรณีศึกษาจากบันทึกการเดินทางทั้งหมด 12 เล่ม และอีกหนึ่งรายการโทรทัศน์ เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริบททางสังคมไทยและจีนที่มีผลต่อบันทึกการเดินทางของคนไทย อีกทั้งเพื่อศึกษาวิเคราะห์ องค์ประกอบของเรื่องเล่าที่พบในบันทึกการเดินทาง โดยวิเคราะห์จากหลักเกณฑ์การเล่าเรื่องที่ประยุกต์จากเกณฑ์การวิเคราะห์วรรณกรรมของ John Cawelti (1971 อ้างถึงใน วิริยา วิฑูรย์สฤษฎ์ศิลป์, 2548) เพื่อศึกษาเรื่องของการรับรู้ในอัตลักษณ์ที่แฝงไว้ในบันทึกการเดินทาง โดยเฉพาะในบทความนี้จะนำเสนอในมุมมองของ “โครงเรื่อง” มาวิเคราะห์ถึงการรับรู้และอาศัยทฤษฏีการส่งสารและตีความทางด้านอัตลักษณ์ จากทฤษฏีของ Stuart McPhail Hall (1997) ได้นำมาปรับประยุกต์ใช้ในเรื่องของการสื่อความหมาย ตีความจากสิ่งที่พบในบันทึก กล่าวถึงผู้เขียนในแต่ละยุคสมัยที่ไปเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการรับรู้และตีความต่อสิ่งที่ได้พบเห็นในสังคมบ้านเมืองอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยอาศัยการจัดรวบรวมหมวดหมู่ของบันทึกการเดินทางตามลำดับกาลเวลา เพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษาทั้งนี้จุดมุ่งหมายของการเขียนบทความก็เพื่อที่จะจัดหมวดหมู่งานเขียนทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะบันทึกการเดินทางของชาวไทยที่ได้ไปเยี่ยมเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ภายหลังเปิดความสัมพันธ์ทางการฑูตอย่างเป็นทางการเป็นต้นมา จวบจนถึงปัจจุบัน โดยเน้นการวิเคราะห์แนวเขียน เนื้อหา ตามองค์ประกอบและวิธีการเล่าเรื่อง เพื่อใช้ในการศึกษาการรับรู้ของคนไทยที่มีต่อบ้านเมือง ประชากร วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ต่างๆ ของผู้คน โดยมองผ่านการเล่าเรื่องราวที่ปรากฏในบันทึก แล้ววิเคราะห์ถึงการรับรู้อัตลักษณ์ที่เกี่ยวกับตนเองและผู้อื่น ดั่งที่ได้ปรากฎในบันทึกการเดินทางในแต่ละยุคแต่ละสมัย อันจะนำมาสู่การเข้าใจมุมมองของนักเดินทางชาวไทยที่มีต่ออัตลักษณ์ของ “จีน” ในแต่ละช่วงเวลาได้ดียิ่งขึ้น โดยในบทความชิ้นนี้จะนำเสนอในประเด็นขององค์ประกอบด้านโครงเรื่องของเรื่องเล่า อันจะเป็นประเด็นหลักในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเกี่ยวกับพัฒนาการที่เกิดขึ้น