การพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบูรณ์ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Administration Development of Tourism Areas of the Phetchabun Province According to the Sufficiency Economy Philosophy

Authors

  • จิราพร เทืองน้อย
  • สัมพันธ์ พลภักดิ์

Keywords:

การพัฒนา, การบริหารจัดการ, ท่องเที่ยว, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบูรณ์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวฯ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวฯ และ (4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวฯ ใช้การวิจัยแบบผสม ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและการวิจัยเชิงคุณภาพมาเสริม  โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวมรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ 2 อำเภอ จำนวน 1,090  คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้ข้อมูลหลัก แบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 9 คน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบูรณ์ คือ ปัญหาด้านการมีภูมิคุ้มกันในการที่จังหวัดไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายในการอนุรักษ์พื้นที่ท่องเที่ยวอย่างเข้มงวดเท่าที่ควร (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวฯ คือจังหวัดฯ ควรมีการบังคับใช้กฎหมายในการอนุรักษ์พื้นที่ท่องเที่ยว เช่น การทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง และ/หรือเกิดการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาสร้างรีสอร์ท  (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวฯ ประสบผลสำเร็จที่สำคัญ คือ การที่ผู้บริหารจังหวัดควรมีวิสัยทัศน์ที่ดี มีคุณธรรมและมีแนวทางการบริหารจัดการที่ดี  และ (4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบูรณ์ฯ คือ จังหวัดควรมียุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวที่สนับสนุนในการพัฒนาระบบบริหารจัดการ และปัจจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว ที่เป็นปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้ง 4 ด้าน

Downloads

Published

2018-04-03

Issue

Section

บทความวิจัย