ประสิทธิผลของการบริหารกิจการคณะสงฆ์
The Effectiveness of the Sangha Administration
Keywords:
ประสิทธิผล, การบริหาร, คณะสงฆ์Abstract
การวิจัยครั้งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของคณะสงฆ์ เป็นกรณีศึกษาวัดในเขตจังหวัดนครปฐม 6 ด้าน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพระสังฆาธิการจำนวน 400 รูป จากประชากรพระสังฆาธิการจำนวน 1,273 รูป ผลการวิจัยพบว่าพระสังฆาธิการส่วนใหญ่มี อายุ 41 – 50 ปี มีพรรษา 21 – 30 พรรษา จบปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จบนักธรรมชั้นเอกและไม่มีวุฒิทางเปรียญธรรม ประสิทธิผลของการบริหารกิจการคณะสงฆ์ พบว่า อยู่ในระดับมากในทุกด้าน ซึ่งได้แก่ ด้านงานสาธารณูปการ ด้านงานการปกครอง ด้านงานศึกษาสงเคราะห์ ด้านงานศาสนศึกษา ด้านงานเผยแผ่ศาสนธรรมและด้านงานสาธารณสงเคราะห์ ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ สรุปได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลของการบริหารกิจการคณะสงฆ์ มากที่สุดโดยลำดับได้แก่ ภาวะผู้นำของเจ้าอาวาส (X1) คุณภาพการบริหาร (X2) และการมีส่วนร่วมสนับสนุน (X3) ตามลำดับ โดยมีสมการพยากรณ์ Ŷ = 0.759 + 0.4291 + 0.4212+ 0.4183 ค่า R Square = 0.761 การวิจัยนี้ ได้ค้นพบทฤษฎีสำคัญที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ คือ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีการบริหารและทฤษฎีการมีส่วนร่วมและได้สะท้อนให้เห็นว่าวัดยังมีการบริหารงานตามทฤษฎีองค์การในระบบปิดเพราะประสิทธิผลของการบริหารกิจการคณะสงฆ์ยังขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสเป็นหลัก จึงควรที่จะเปิดการบริหารกิจการวัดให้มีผู้มีส่วนร่วมสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมภายนอกตามทฤษฎีองค์การระบบเปิดให้มากยิ่งขึ้น