การบริหารจัดการด้านการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะครัวเรือน ของเทศบาลเมืองลำพูน

Administration to Promote People on Household Waste Separation of Lamphun Town Municipality

Authors

  • เอื้ออัมพร ดิลกธรรมวงศา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • สัมพันธ์ พลภักดิ์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

การบริหารจัดการ,การส่งเสริม,การคัดแยกขยะ,การบริหารจัดการตามรอยพระยุคลบาท

Abstract

This mixed research aimed to study (1) the issue of management (2) the development, management, and (3) the factors essential to the development of the factors that have contributed significantly to the development, management and promotion. People of municipal household waste Lamphun follow the successful footsteps of success. The study questionnaire was used to collect the data from 8,210 people who liveinLamphunmunicipality, included. the selected sample of 8210 people, 1000 of which have been calculated using a formula of Taro Yamane.00 of the total sample Analyze data in tables And use descriptive analysis. For the statistics used were frequency, percentage, average, standard deviation. 

T test The multiple regression And a correlation coefficient of Pearson. There are also interviews local experts depth of  9 people to get qualitative data as well. The results showed that: (1) problems with the management of major municipalities, there is no clear policy to encourage people to separate waste, household (2) Guidelines for Management Development is important that municipalities should have a clear policy on. encourage household waste. And municipalities should be encouraged to separate waste containers for every household are adequately and comprehensively (3) factors that have contributed significantly to the development of management practices to achieve the key is to get the support of the municipal personnel. And adequate budgetary resources required by the government. In order to develop the environmental activities as necessary. To meet the needs of the people in the area thoroughly comprehensive and timely, and (4) a model of management.

Author Biography

เอื้ออัมพร ดิลกธรรมวงศา, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

การวิจัยแบบผสมผสานผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา(1) สภาพปัญหาการบริหารจัดการ(2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการและ(3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะครัวเรือนของเทศบาลเมืองลำพูนประสบความสำเร็จ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากประชาชนจำนวน 8,210 คน ในเขตเทศบาลเมืองลำพูน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลในรูปตาราง และใช้รูปแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนา สำหรับสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าการถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และยังมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คนเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพอีกด้วยผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญ คือเทศบาลไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะครัวเรือน(2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ ที่สำคัญ คือ เทศบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะครัวเรือน และเทศบาลควรสนับสนุนภาชนะรองรับการคัดแยกขยะให้ทุกครัวเรือนอย่างเพียงพอและทั่วถึง (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการประสบผลสำเร็จที่สำคัญคือ การที่เทศบาลได้รับความสนับสนุนทั้งด้านบุคลากร ด้านงบประมาณและทรัพยากรที่จำเป็นอย่างเพียงพอจากรัฐบาลในเพื่อการดำเนินกิจกรรมพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมตามความจำเป็น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุม และทันเวลา และ (4) ตัวแบบในการบริหารจัดการ

Downloads

Published

2018-08-15

Issue

Section

บทความวิจัย