การบริหารจัดการด้านการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะครัวเรือน ของเทศบาลเมืองลำพูน
Administration to Promote People on Household Waste Separation of Lamphun Town Municipality
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ,การส่งเสริม,การคัดแยกขยะ,การบริหารจัดการตามรอยพระยุคลบาทบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา(1) สภาพปัญหาการบริหารจัดการ(2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการและ(3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะครัวเรือนของเทศบาลเมืองลำพูนประสบความสำเร็จ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากประชาชนจำนวน 8,210 คน ในเขตเทศบาลเมืองลำพูน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลในรูปตาราง และใช้รูปแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนา สำหรับสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าการถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และยังมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คนเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพอีกด้วยผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญ คือเทศบาลไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะครัวเรือน(2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ ที่สำคัญ คือ เทศบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะครัวเรือน และเทศบาลควรสนับสนุนภาชนะรองรับการคัดแยกขยะให้ทุกครัวเรือนอย่างเพียงพอและทั่วถึง (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการประสบผลสำเร็จที่สำคัญคือ การที่เทศบาลได้รับความสนับสนุนทั้งด้านบุคลากร ด้านงบประมาณและทรัพยากรที่จำเป็นอย่างเพียงพอจากรัฐบาลในเพื่อการดำเนินกิจกรรมพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมตามความจำเป็น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุม และทันเวลา และ (4) ตัวแบบในการบริหารจัดการ