การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจภาคใต้ ของประเทศไทย
Keywords:
การบริหารความเสี่ยง, โรงเรียนประถมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจภาคใต้, ประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบ และนำเสนอการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจภาคใต้ของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อเท็จจริง แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสรุปจากการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษามีความคิดเห็นต่อการบริหารความเสี่ยง ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (2) ผู้บริหารของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีเพศ ศาสนา และประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) การนำเสนอการบริหารความเสี่ยง ครอบคลุมถึง ด้านกลยุทธ์ ด้านการดำเนินงาน ด้านการเงิน ด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านความมั่นใจทางการศึกษา และ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนควรนำไปใช้ประกอบการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ