การบริหารจัดการด้านการส่งออกของท่าเรือกรุงเทพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Keywords:
การบริหารจัดการ, การส่งออก, ท่าเรือกรุงเทพ, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงAbstract
การการวิจัยแบบผสมผสานผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาของการบริหารจัดการ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการส่งออกของท่าเรือกรุงเทพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสำเร็จ ประชากร คือ ผู้ประกอบการสินค้าส่งออกที่ส่งออกผ่านท่าเรือกรุงเทพ จำนวน 4,713 คน ใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 900 คน ที่ได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ในรูปตาราง รวมทั้งใช้รูปแบบวิเคราะห์เชิงพรรณนา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน แบบตัวต่อตัว ด้วยแบบสอบถามแนวลึกแบบมีโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงานบางคนของการท่าเรือขาดความใส่ใจในการให้บริการ (2) พนักงานของท่าเรือควรให้ความใส่ใจในการให้บริการและการติดตามดูแลลูกค้าผู้ประกอบการส่งออก (3) การที่ผู้บริหารของท่าเรือกรุงเทพมีนโยบายที่ชัดเจนในการบริหารจัดการด้านการส่งออก รวมถึงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านการส่งออก และ (4) ตัวแบบในการบริหารจัดการ เรียงตามลำดับจากความสำคัญมากไปน้อย ดังนี้ (1) ด้านความพอประมาณ (2) ด้านการมีความรู้ (3) ด้านคุณธรรม (4) ด้านความมีเหตุผล และ (5) ด้านการมีภูมิคุ้มกัน