นวัตวิถีเชิงประวัติศาสตร์อยุธยาโมเดล
Keywords:
Management, Integration, Identity, Historical Innovative Ayutthaya Model, World-living Heritage SiteAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยใดที่ก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารจัดการท่องเที่ยว 3) มีการพัฒนาอะไรที่จะทำให้การท่องเที่ยวเขตเมืองมรดกโลกของอุทยานประวัติศาสตร์ มีเอกลักษณ์ มีความยั่งยืนสอดคล้องกับวิถีชุมชน และ 4) รายรับจากการท่องเที่ยวส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างไร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 30 คน 2) หน่วยงานเอกชน จำนวน 10 คน 3) หน่วยงานส่วนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว จำนวน 20 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่และต่อเนื่อง ด้วยการอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาหลักในการบริหารงานของอยุธยา คือ ความขัดแย้งทางกฎหมายและข้อบังคับจากหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัด ความรับผิดชอบที่ทับซ้อนเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการให้บริการ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายคนแนะนำให้จังหวัดอยุธยาปฏิบัติตามเส้นทางเดียวกันเพื่อให้เป็นเขตเทศบาลพิเศษ เหมือนเขตพัทยา และกรุงเทพฯ และระบุกฎหมายพิเศษในการจัดการพื้นที่ดังกล่าว ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัดมีบทบาทสำคัญในการที่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการบูรณาการและวางนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องตามประเพณี วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของชุมชน ในท้ายที่สุดเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมุ่งเป้าไปที่การรักษาประเพณีท้องถิ่นและประวัติของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัด และสุดท้ายนี้ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ นักท่องเที่ยวที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ สามารถสัมผัสกับมรดกโลกที่แท้จริงซึ่งสามารถมองเห็นวิถีชีวิตของชุมชนในท้องถิ่นได้ อยุธยามีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศมากขึ้น การลดความเสี่ยงและผลกระทบในทางลบต่อชีวิตของชุมชนท้องถิ่นซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนของมรดกโลกที่มีลักษณะเป็น "นวัตกรรมทางประวัติศาสตร์อยุธยา" ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว