การบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ของจังหวัดลำปางเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรรถม้า
Administration of Public Relations in Lampang Province for Conservation Chariot Resources
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, การประชาสัมพันธ์จังหวัดลำปาง, เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรรถม้าบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัญหาการบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ของจังหวัดลำปางเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรรถม้า (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ของจังหวัดลำปาง (3) ปัจจัยทีมีส่วนสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ของจังหวัดลำปาง ประสบความสำเร็จ (4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ของจังหวัดลำปาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก เน้นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่จังหวัดลำปาง จำนวน 1,224 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพปัญหาการบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ของจังหวัดลำปางเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรรถม้าอยู่ในระดับน้อย (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์คือจังหวัดลำปางต้องจังหวัดควรสนับสนุนทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน คือ การส่งเสริมให้บุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ได้มีการพัฒนาด้านความรู้ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ของจังหวัดลำปางประสบความสำเร็จ คือ ปัจจัยต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ตามกรอบแนวคิดการบริหาร POSDCORB และ (4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อนำไปสู่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง