ความสำเร็จในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคอย่างยั่งยืน

The success in the sustainable management of Provincial Administration

ผู้แต่ง

  • ฐิติพงษ์ วิชัยสาร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความสำเร็จ การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคอย่างยั่งยืน 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคอย่างยั่งยืน 3.เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .874 และการสร้างมาตรวัดตัวแปรและคำนิยามเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (t-test) และ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD   ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคอย่างยั่งยืนในกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปน้อยคือ แบบมุ่งความสำเร็จ แบบการปรับตัว แบบมีส่วนร่วม และแบบโครงสร้างและกฎระเบียบ ในการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมาก การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปน้อยคือ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส หลักความคุ้มค่า และหลักการมีส่วนร่วม การบริหารราชการส่วนภูมิภาคอย่างยั่งยืนการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม มีอิทธิพลต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล การบริหารราชการส่วนภูมิภาคอย่างยั่งยืน การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคอย่างยั่งยืนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย