การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์โตโยต้า นิว วีออส ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กับ ผู้บริโภคในเขตกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • ศศิณัฏฐ์ ธีรรัตนางกูร
  • ทิพย์รัตน์ แสงเรืองรอบ

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, ประชากรศาสตร์, การตัดสินใจเลือกซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์โตโยต้า นิว วีออส ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กับผู้บริโภคในเขตกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (2) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีความแตกต่างต่อแนวโน้มการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์โตโยต้า นิว วีออส ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กับผู้บริโภคในเขตกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่มีความสนใจ และมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ ในเขตกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และผู้บริโภคในเขตกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย จำนวน 500 คน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในเปรียบเทียบระดับความสำคัญ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis--EFA), Independent t-test, One-way ANOVA และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก (binary logistic regression) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการตัดเลือกซื้อรถยนต์โตโยต้า นิว       วีออส ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กับผู้บริโภคในเขตกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้แก่ ปัจจัยในด้านผลิตภัณฑ์ (product) ราคา (price) ช่องทางการจัดจำหน่าย (place) และด้านลักษณะทางกายภาพ (physical) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ในส่วนของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ผลพบว่าอายุที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์โตโยต้า นิว  วีออส ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กับผู้บริโภคในเขตกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05  ส่วนปัจจัยในด้านระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ โตโยต้า นิว วีออส ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย กับ ผู้บริโภคในเขตกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ไม่แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย