การศึกษาสภาวะทางการเงินของ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, สภาวะทางการเงิน, อัตราส่วนทางการเงินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราส่วนทางการเงินและสภาวะทางการเงินของธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่มในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ซึ่งจะใช้ข้อมูลงบแสดงฐานะทางการเงินและงบกำไรขาดทุนเป็นรายปี พ.ศ. 2557 -25590 จำนวน 58 กิจการหลังจากเก็บข้อมูลจากงบการเงินแล้ว จะนำมาวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ตัวแบบ Altman’s Z-Score Model ได้แก่ (1) อัตราส่วนความคล่องตัว (2) เงินทุนสะสมจากแหล่งภายใน (3) ความสามารถในการทำกำไร (4) สัดส่วนโครงสร้างทางการเงิน และ (5) ประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ อีกทั้งได้มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยมีการหาค่าแจกแจงความถี่ (Frequeney) ร้อยละ (Percentage) ค่ามัธยฐาน (Median) ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation) ค่าสูงสุด (Maximum) และค่าต่ำสุด (Minimum) ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในจังหวัดอุบลราชธานีนั้น โดยธุรกิจรายย่อยจะมีอัตราส่วนทางการเงินจุดเด่น คือ อัตราส่วนความคล่องตัวและสัดส่วนโครงสร้างทางการเงิน คิดเป็นร้อยละ 80 ธุรกิจขนาดย่อมจะมีอัตราส่วนทางการเงินจุดเด่น คือ สัดส่วนโครงสร้างทางการเงินและประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ คิดเป็นร้อยละ 50 และธุรกิจขนาดกลางจะมีอัตราส่วนทางการเงินจุดเด่น คือ อัตราส่วนความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ คิดเป็นร้อยละ 70 ต่อมาสภาวะทางการเงินของโดยธุรกิจรายย่อยจะเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคงสูง (Safe Zone) คิดเป็นร้อยละ 80 ธุรกิจขนาดย่อมเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง (Safe Zone) คิดเป็นร้อยละ 50 และธุรกิจขนาดกลางเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคงสูง (Safe Zone) คิดเป็นร้อยละ 65