คุณภาพการบริการของผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทย: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมในเขตภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • ธารกมล ฐานะชาลา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • อุษณีย์ สว่างวัชรี หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร

คำสำคัญ:

ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์, ปัจจัยด้านคุณภาพในการให้บริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทยในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง (2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยคุณภาพการบริการระหว่างเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังสำหรับการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งในอุตสาหกรรมไทย วิธีการในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการทดสอบสมมติฐาน (t-test) โดยใช้แหล่งข้อมูลปฐมภูมิจากกลุ่มประชากรเป้าหมายในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังด้วยวิธีการสำรวจและสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ผลการวิจัยพบว่าผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการถ่ายโอนกิจกรรมที่ไม่จำเป็นไปยังผู้เชี่ยวชาญเพื่อสนับสนุนธุรกิจของพวกเขาซึ่งปัจจัยนี้มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้ให้บริการโลจิสติกส์ อย่างไรก็ตามผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัจจัยด้านคุณภาพในการให้บริการเพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมไทยในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โดยมีปัจจัยหลักคือ การให้บริการที่เป็นรูปธรรมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพ คุณลักษณะที่เป็นรูปธรรมของคุณภาพการบริการเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพภายนอกของพนักงาน สิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ที่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์สามารถจัดหาให้แก่ผู้ประกอบการ. จากผลสรุปของการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยทั้ง 5 ด้านได้แก่ ความน่าเชื่อถือ, การตอบสนอง, ความเป็นรูปธรรม, การเอาใจใส่ และความเชื่อมั่น ไม่มีความแตกต่างเกี่ยวกับปัจจัยด้านคุณภาพการบริการระหว่างนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย