ปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการไม่พึงประสงค์ขณะทำการฝึกบินของศิษย์การบินในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชนนนาถ เทพลิบ สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ศิษย์การบินในประเทศไทย, ขณะทำการบิน, อาการไม่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย (Physical Health) ด้านจิตใจ (Mental Health) ด้านการจูงใจของครูการบิน (Instructor’s Motivation) และพฤติกรรมการปรับตัวของศิษย์การบิน (Adaptive Behavior) ในประเทศไทย ที่มีผลต่ออาการไม่พึงประสงค์ขณะทำการบินของศิษย์การบินในประเทศไทย และ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้ง 4 ด้าน กับอาการไม่พึงประสงค์ขณะทำการบินของศิษย์การบินในประเทศไทย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้การสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพกับศิษย์การบินที่ศึกษาในหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรีและหลักสูตรศิษย์การบินกองทัพอากาศ จากโรงเรียนการบินในประเทศไทย ปีการศึกษา 2564 จำนวนประชากร 489 คน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย, ด้านจิตใจ, ด้านการจูงใจของครูการบิน และพฤติกรรมการปรับตัวของศิษย์การบินในประเทศไทย ที่ต่างกัน มีผลต่ออาการไม่พึงประสงค์ขณะทำการบิน ของศิษย์การบินในประเทศไทยที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Correlation Analysis) พบว่า ความกดดันบรรยาอากาศมีผลต่อการทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ วิธีในการป้องกัน คือ การเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนทำการบินทุกครั้ง โดยการทำกิจกรรมเพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย อีกทั้งแรงจูงใจของครูการบินยังช่วยให้ศิษย์การบินปรับตัวกับอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นได้

References

Bunwongwan, V. (2018). Obstacles affecting undergraduate students' decision to enter the

commercial pilot career in Thailand. Bangkok: Thammasat University. (in Thai)

Civil Aviation Institute of Thailand. (n.d.). Medical class 1 and 2 examination. Retrieved from

https://www.caat.or.th/th. (in Thai)

Institute of Aviation Medicine. (n.d.). Good flying skills. Bangkok: Institute of Aviation Medicine,

Royal Thai Air Force. (in Thai)

Kanchanakit, S., & Chantruthai, S. (1999). Sports psychology, concepts, theory into

practice. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Kaewkangwan, S. (2001). Personality psychology theory: Knowing us, knowing them.

(9th ed.). Bangkok: Doctor Ban. (in Thai)

Lee, I. M., Shiroma, E. J., Lobelo, F., Puska, P., Blair, S. N., Katzmarzyk, P. T., & Wells, J. C. (2012).

Effect of physical inactivity on major non-communicable diseases worldwide: An

analysis of burden of disease and life expectancy. The lancet, 380(9838), 219–229.

McCrae, R. R., & Costa Jr, P. T. (1989). More reasons to adopt the five-factor model. American

psychologist, 44(2), 451-452.

Nakabut, N., & Sonsuphap, R. (2017). Working health of flight attendants. case

study of low-cost airlines in Thailand. Rangsit journal of graduate studies in business

and social sciences, 2(2), 152-166. (in Thai)

Panpreecha, C. (2008). General psychology unit 9. (21st ed.). Bangkok: Sukhothai

Thammathirat Open University Press. (in Thai)

Post Today. (2015). Above (air) must be safe.

Promjui, S. (1983). The relationship between the components of personality in terms of

being sensitive to emotions. with official achievement study mathematics English and

Thai science of Mathayom 3 students in Suphanburi province. Bangkok:

Srinakharinwirot Prasarnmit University (in Thai)

Post Today. (2015). The above (air) must be safe. Retrieved from

https://www.posttoday.com/life/healthy/375621. (in Thai)

PPTV Online. (2024). Retrieved from https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/224779

Sigmund Freud. (2017). Three essays on the theory of sexuality: The 1905 edition. Verso Books.

Supiriyanan, K., & Sonsuphap, R. (2014). Creating professional pilots in Thailand.

Journal of finance, investment, marketing and business services, 4(1), 259-272. (in Thai)

Supiriyanan, K., & Sonsuphap, R. (2014). Creating professional pilots in Thailand.

Journal of finance, investment, marketing and business services, 4(1), 259-272.

(in Thai)

Trakulsarit, W. (2002). Psychology of adaptation. Bangkok: Academic Promotion Center.

(in Thai)

Taro Yamane. (1973). Elementary sampling theory, taro yamane. Englewood Cliffs, New

Jersey: Prentice-Hall.

Yngve, M., Munkholm, M., Lidström, H., Hemmingsson, H., & Ekbladh, E. (2018). Validity of the

school setting interview for students with special educational needs in regular high

school-a Rasch analysis. Health and quality of life outcomes, 16(12), 1–12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-03