การประเมินคุณภาพการแปลข้อมูลการให้บริการ ด้านสุขภาพแก่ชาวต่างประเทศของน้ำพุร้อนโป่งพระบาท จังหวัดเชียงราย ตามโมเดลการประเมินคุณภาพการแปลของเฮ้าส์

Main Article Content

วรพล ธูปมงคล
สุริยา เกษตรสุขถาวร
สมยศ จันทร์บุญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการแปลภาษาต้นฉบับจากภาษาไทยเป็นฉบับแปลภาษาอังกฤษที่ปรากฏในสื่ออินโฟกราฟิกส์เชิงประชาสัมพันธ์เพื่อยกระดับการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มาใช้บริการน้ำพุร้อนโป่งพระบาท จังหวัดเชียงราย โดยอาศัยการประเมินคุณภาพการแปลตามทฤษฎีของเฮ้าส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือข้อมูลสื่ออินโฟกราฟิกส์ประชาสัมพันธ์การให้บริการลงแช่น้ำพุร้อน ณ น้ำพุร้อนโป่งพระบาทจังหวัดเชียงราย กรอบการประเมินประกอบด้วยการถ่ายทอดภาษาเป้าหมายมีความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) มีความชัดเจน (Clarity) และ ภาษาเป้าหมายมีความเป็นธรรมชาติ (Naturalness) ตามลำดับ ผลการวิจัย พบว่า การประเมินคุณภาพภาษาแปลทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับคุณภาพมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) = 0.82 เมื่อพิจารณาแต่ละด้านแล้ว ทีมนักวิจัยยังพบว่า ความถูกต้อง (Accuracy) อยู่ในระดับมีคุณภาพสูง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) = 0.75 ความชัดเจน (Clarity) ระดับคุณภาพมีระดับสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.00, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) =0.89 ในขณะที่ความเป็นธรรมชาติ (Naturalness) พบว่า มีระดับคุณภาพสูงที่ 3.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) = 0.82 ภายใต้แบบจำลอง การประเมินคุณภาพการแปลของเฮ้าส์ถือว่าเกณฑ์ TQA สามารถนำไปใช้กับการแปลงานประเภทนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ธูปมงคล ว., เกษตรสุขถาวร ส., & จันทร์บุญ ส. (2022). การประเมินคุณภาพการแปลข้อมูลการให้บริการ ด้านสุขภาพแก่ชาวต่างประเทศของน้ำพุร้อนโป่งพระบาท จังหวัดเชียงราย ตามโมเดลการประเมินคุณภาพการแปลของเฮ้าส์. วารสารฟ้าเหนือ, 13(2), 119–136. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/FaNJ/article/view/255448
บท
บทความวิจัย

References

Al-Qinai, J. (1999). Asymmetry of gender markedness in English-Arabic translation. Theoretical linguistics, 25 (1), 75-96.

Catford, J, C. (1978). A Linguistic Theory of Translation. Oxford University Press.

Drugan, J. (2013). Quality in professional translation. Bloomsbury.

House, J. (1977). A Model for Translation Quality Assessment. Narr.

House, J. (1981). A Model for translation quality assessment. Narr.

House, J. (1997). Translation Quality Assessment: A Model Revisited. Narr.

House, J. (2015). Translation Quality Assessment: Past and Present. Routledge.

Larson, M. (1998). Meaning-Based Translation: A Guide to Cross-Language Equivalence. University Press of America.

Nord, C. (1997). Translating as a purposeful activity. Stjerome.

Pornpimon Phatarasringkarn. (2006). An Analysis of the Translation of the Short Stories of Sea-Writer Award Receiver-Chart Korpjitti [Unpublished master’s thesis]. National Institute of Development Administration.

Reiss, K. (2000). Translation criticism: The potentials and limitations. Taylor & Francis.

Schafnner, C. Ed (1998). Translation and quality current issues in language and society. Multilingual Matters LTD.

Suchada Sangsanguan. (2014). An assessment of the textual function in the two Thai translations of Kahlil Gibran’s The Prophet using Juliane House’s model. [Unpublished master’s thesis]. Chulalongkorn University.

Williams, M. (2009). Translation quality assessment. Mutatis Mutandis, 2(1), 2-23.