การรับรู้และกลวิธีการเรียนภาษาของนักศึกษาจีน: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

ณัฏฐพล สันธิ
สิริกันยา ดาวิไล
บุตรี เวทพิเชฐโกศล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และกลวิธีการเรียนภาษาของนักศึกษาจีนที่มาศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามการการรับรู้และกลวิธีการเรียนภาษาของนักศึกษาจีนที่มาศึกษาต่อณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาจีน ชั้นปีที่ 3 และ 4ทั้งหมดจำนวน 80 คน ที่ศึกษาสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในปีการศึกษา 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาจีนแสดงความเห็นต่อการรับรู้ 3 ประเด็นเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ สภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเรียน กระบวนการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนของครอบครัว และปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 4.166(S.D.=0.67) 4.05 (S.D.=0.75) 4.06 (S.D.=0.74) นักศึกษาจีนใช้กลวิธีการเรียนภาษาเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ กลวิธีทางสังคมและจิตพิสัย (Socioaffective)กลวิธีทางอภิปัญญา (Metacognitive) และ กลวิธีทางปัญญา (Cognitive)มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 4.123 (S.D.=0.68) 4.065 (S.D.=0.71) และ 3.968 (S.D.=0.73)

Article Details

How to Cite
ณัฏฐพล สันธิ, สิริกันยา ดาวิไล, & บุตรี เวทพิเชฐโกศล. (2022). การรับรู้และกลวิธีการเรียนภาษาของนักศึกษาจีน: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารฟ้าเหนือ, 12(2), 114–136. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/FaNJ/article/view/256469
บท
บทความวิจัย

References

An, Z. C. (2010). An Aspect of Globalization in Higher Education: Why Chinese Students Choose to Study in Thailand [Master’s thesis]. Assumption University. https://repository.au.edu/handle/6623004553/1913.

Cheng, Y. (2018). A Study on Improving Intercultural Communicative Competence of Chinese Students in Thailand. https://repository.nida.ac.th/bitstream/handle/662723737/4375/b204599e.pdf.

Nguyen, H.D.N. (2020). Understanding EFL Students’ Use of Listening Strategies in Watching English Captioned Movies. Vietnam Journal of Education, 4(2), 37-46. http://vje.vn/index.php/journal/article/download/18/18.

O'malley, J. M. & Chamot, A. U. (1990). Learning strategies in second language acquisition. Cambridge university press.

Oxford, R. (1990). Language learning strategies. New York.

Rahman, M.M. (2020). EFL Learners’ Language Learning Strategies: A Case Study at Qassim University. Advances in Language and Literary Studies. https://www.journals.aiac.org.au/index.php/alls/article/view/6428.

Saks, K. & Leijen, Ä. (2018). Cognitive and metacognitive strategies as predictors of language learning outcomes. psihologija, 51(4), 489-505. https://www.ceeol.com/search/article-detail?id=745173.

Sari, P. Y., Sofyan, D., & Hati, G. M. (2018). Language Learning Strategies Used by Successful Students of the English Education Study Program at University of Bengkulu. Journal of English Education and Teaching, 4(2), 68-75.

Supakorn, P., Feng, M., & Limmun, W. (2018). Strategies for Better Learning of English Grammar: Chinese vs. Thais. English Language Teaching, 11(3), 24-39.

Ye, Y. (2020). Factors Affecting the Decision-Making of the Chinese Students to Study in Higher Education Institutions in Thailand. Romphruek Journal: Krirk University, 38(1), 101-117. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/romphruekj/article/view/214045.