การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ด้วยแบบฝึกทักษะที่ใช้วรรณกรรมการ์ตูนในหนังสือพิมพ์ไทยสำหรับนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

อรทัย ขันโท

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ด้วยแบบฝึกทักษะส่งเสริมการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ที่ใช้วรรณกรรมการ์ตูนในหนังสือพิมพ์ไทย 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่มีต่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบฝึกทักษะส่งเสริมการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ที่ใช้วรรณกรรมการ์ตูนในหนังสือพิมพ์ไทย 2) แบบวัดความสามารถการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ 3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะส่งเสริมการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์โดยใช้วรรณกรรมการ์ตูนในหนังสือพิมพ์ไทย สำหรับนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะส่งเสริมการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ด้วยใช้วรรณกรรมการ์ตูนในหนังสือพิมพ์ไทย เท่ากับ 67.78/83.02 2) นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยจากการวัดความสามารถในการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 3) นักศึกษาที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะส่งเสริมการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ด้วยใช้วรรณกรรมการ์ตูนในหนังสือพิมพ์ไทย มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48

Article Details

How to Cite
ขันโท อ. (2023). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ด้วยแบบฝึกทักษะที่ใช้วรรณกรรมการ์ตูนในหนังสือพิมพ์ไทยสำหรับนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย. วารสารฟ้าเหนือ, 14(1), 139–158. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/FaNJ/article/view/260283
บท
บทความวิจัย

References

จิราพร ภัทรมูล. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อหนังสือพิมพ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านช่อผกา อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ธนีพันธ์ ชัยชนะเลิศ. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปา (CIPPA) โดยใช้หนังสือพิมพ์เป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติตนตามหลักเบญจศิล สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม (พุทธศาสนา). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(18), 11-17.

นพรัตน์ ปัญญาดิลกพงศ์. (2562). การหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะอ่านภาษาอังกฤษเพื่อเน้นความเข้าใจจากหนังสือพิมพ์และการใช้พจนานุกรมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติของนักศึกษา สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 13(1), 79-88.

น้ำฝน สารคุณ และคณะ. (2560). ภาพการ์ตูนจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (ระหว่างเดือนสิงหาคม 2554 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557). วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 2(1), 49-63.

พิสณุ ฟองศรี. (2552). การสร้างและการพัฒนาเครื่องมือการวิจัย. บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. สุวีริยาส์น.

วิจารณ์ พานิช. (2560). เส้นทางสู่คุณภาพการศึกษายุคประเทศไทย 4.0. การประชุมเชิงวิชาการทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยวงษ์เชาวลิตกุล.

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2553). คู่มือการอ่านคิดวิเคราะห์. ศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม.

สรศักดิ์ เชี่ยวชาญ. (2558). การวิเคราะห์ลักษณะภาษาโฆษณาจากหนังสือพิมพ์เพื่อสร้างแบบฝึกหัดเสริมทักษะวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(90), 199 – 217.

สุวิทย์ มูลคำ. (2550). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 6). ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

สุดรัก จรรยาวงศ์. (2531). กลยุทธ์การสื่อสารการ์ตูน ขบวนการแก้จน. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Mayer, Ralph. (1969). A Dictionary of Art Terms and Techniques. Thomas Y. Grawell Company.