การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมสถานการณ์จำลอง ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

Main Article Content

นุกูล ธรรมจง
ภานุกรณ์ จันทร์สว่าง
ชนกพร ขาวคำ
ณัฐปภัสร์ พงษ์โพนเพ็ก
กฤษดา กฤตเมธกุล
อาทิตย์ธเนศ อุไรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมฝึกทักษะการพูดภาษาจีน โดยใช้สถานการณ์จำลอง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาจีน โดยใช้สถานการณ์จำลอง และ 3) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีนโดยใช้สถานการณ์จำลองระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง เรื่อง “การพูดในชีวิตประจำวัน” เนื้อหา 1 หน่วยการเรียน จำนวน 8 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง จำนวน 4 สัปดาห์ รวม 16 ชั่วโมง ซึ่งแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผน ประกอบด้วย 1) แบบประเมินทักษะการพูดภาษาจีน 2) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียน 3) ใบงานกิจกรรม และ 4) แบบทดสอบวัดทักษะการพูด ข้อมูลได้รับการวิเคราะห์เพื่อหาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบทักษะการพูดของนักศึกษา ก่อนและหลังเรียน ใช้การทดสอบค่าทีที่มีความสัมพันธ์กัน ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.73/85.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาจีนโดยใช้สถานการณ์จำลอง มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับร้อยละ 73.54 หมายความว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการพูด และ 3) นักศึกษาที่เรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองมีทักษะการพูดภาษาจีนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
ธรรมจง น., จันทร์สว่าง ภ., ขาวคำ ช., พงษ์โพนเพ็ก ณ., กฤตเมธกุล ก., & อุไรกุล อ. (2023). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนโดยใช้กิจกรรมสถานการณ์จำลอง ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วารสารฟ้าเหนือ, 14(1), 59–78. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/FaNJ/article/view/260297
บท
บทความวิจัย

References

ชลธิชา สว่างไตรภพ และนันทิวัน อินหาดกรวด. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนโดยใช้บทบาทสมมุติสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1. นวัตกรรมและเทคโนโลยีขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0. การประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 4 (น.174 -183). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ไชยฉัตร โรจน์พลทามล. (2562). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. Digital Research Information Center. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/309576

บำรุง โตรัตน์. (2524). วิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรินทร์ เจนจบธุรกิจ, รุจิกา บุญเชิด, วีรนุช สัจจาสัย และณัฐฐิดา โพชสาลี. (2562). การพัฒนาบทเรียนภาษาจีนเชิงธุรกิจสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. ใน สุรีย์มาศ สุขกสิ (บ.ก.), การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่13 (น. 127-133). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สาธิยา พันเทศ และไพทยา มีสัตย์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการออกเสียงและการสื่อสารภาษาจีน โดยการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์เป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(12), 62.

อดุลย์ รัตนมั่นเกษม. (2556). หลักไวยากรณ์จีน ฉบับเรียนรู้ด้วยตนเอง. เต๋าประยุกต์.

อัญชลิการ์ ขันติ, สมเกียรติ อินทสิงห์ และสุนทรี คนเที่ยง. (2562). แนวทางการพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น. วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 3(1), 34-41.

อัญชลิการ์ ขันติ, สมเกียรติ อินทสิงห์, สุนทรี คนเที่ยง และสุนันชัย ออนตะไคร้.(2562). แนวเบื้องต้นการใช้กิจกรรมสถานการณ์จำลองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังและการพูดภาษาจีน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสาร Veridian E-Journal, 12(1), 467-483.

โอวล์ แคมปัส. (2561, 11 กรกฎาคม). การสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาจีน HSK, owlcampus. https://owlcampus.com/hsk-chinese-proficiency-test/

Huanhuan Ma. (2019). Developing Chinese Speaking Skills through Role Play Activities of Chinese Major Students, Faculty of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Maha Sarakham University [Master Degree]. Rajabhat Maha Sarakham University.

Jones, Leo. (1983). Eight Simulations. Cambridge University Press.